Category: ไม่มีหมวดหมู่

  • ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ

    ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ

    ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ องค์การอนามัยโลกเริ่มต้นโครงการกำจัดโรคเรื้อนหรือที่เรียกกันว่าโรค Hansen’s disease แต่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโรคเรื้อนรายใหม่ทั่วโลกมากกว่าสองแสนสองหมื่นแปดพันรายในปีพุทธศักราช 2553 ทีมนักวิจัยไม่รู้แน่ชัดว่าผู้ป่วยติดเชื้อโรคเรื้อนได้อย่างไร สำหรับเชื้อแบคทีเรียไมโครแบคทีเรียม เลพพรี จะเเพร่เชื้อเข้าในเซลล์ประสาทพิเศษในแขนและขาบางจุดที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณกระแสไฟฟ้าจากสมองที่เรียกว่า ชะวานเซลล์ส (Schwann cells) เชื้อแบคทีเรียเข้าไปรบกวนการทำงานของยีนในเซลล์ Schwann และแปรสภาพเซลล์บางตัวเป็นสเต็มเซลล์หรือเซลล์ตั้งต้น ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆในร่างกายมนุษย์ได้ ทีมนักวิจัยทดลองฉีดสเต็มเซลล์ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคเรื้อนเข้าไปในหนูทดลอง เพื่อสังเกตุดูว่าเซลล์ที่เกิดจากการติดเชื้อแปรสภาพไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อชนิดต่างๆได้อย่างไร เซลล์ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียโรคเรื้อนสามารถแปรสภาพเป็นเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดลักษณะรูปร่างผิดเพี้ยนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อนหรือไม่ ทางองค์การอนามัยโลก หวังว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีตรวจเลือดที่ช่วยวินิจฉัยและบำบัดโรคเรื้อนได้แต่เนิ่นๆ

  • ผลการศึกษาชิ้นใหม่ เรื่องความอ้วน ทำแพทย์วิตกว่าผู้คนจะไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

    ผลการศึกษาชิ้นใหม่ เรื่องความอ้วน ทำแพทย์วิตกว่าผู้คนจะไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

    ผลการศึกษาชิ้นใหม่ เรื่องความอ้วน ทำแพทย์วิตกว่าผู้คนจะไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผลการศึกษาล่าสุดเรื่องความอ้วน ของนักวิจัยที่ Centers for Disease Control and Prevention ของสหรัฐ ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา สรุปว่า การมีน้ำหนักตัวเกินขนาดมาตรฐาน จะไม่ทำให้คนเหล่านี้เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีน้ำหนักตัวได้มาตรฐาน ซึ่งดูขัดกับความเห็นก่อนนี้ที่ระบุว่า คนมีน้ำหนักตัวน้อยไป หรือมากเกินไป มีความเสี่ยงที่จะอายุสั้น นักวิจัยวิเคราะห์งานการศึกษา 97 ชิ้น ที่ติดตามดูผู้คนทั่วโลกเกือบสามล้านคน รวมทั้งการเสียชีวิตราวๆ 270,000 ราย เพื่อเปรียบเทียบการเสียชีวิตกับดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) ซึ่งวัดความอ้วนโดยใช้น้ำหนักตัวและความสูงหาค่าออกมา ค่าดัชนีสูงกว่า 18.5 แต่ไม่เกิน 25 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี เข้ามาตรฐาน แต่ผลการศึกษาล่าสุดนี้ พบว่า สำหรับคนที่มี BMI ระหว่าง 25 ถึง 30 โอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ต่ำกว่าคนที่มี BMI ได้มาตรฐานถึง 6% ในขณะที่ ผู้ที่มี BMI…

  • นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้

    นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้

    นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้ นักวิจัยค้นพบว่า ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีระดับโปรตีนในรกอยู่ในระดับต่ำ หรือมีความเครียด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางระบบประสาท หรือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนได้ ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ออฟเพนซิลเวเนีย รัฐฟิลลาเดลเฟีย เปิดเผยว่าผู้หญิงที่เครียดในขณะกำลังตั้งครรภ์จะส่งผ่านโปรตีนพิเศษชนิดหนึ่งไปสู่ทารกในครรภ์ในระดับต่ำกว่าปกติ ซึ่งมีผลให้เกิดความผิดปกติทางพัฒนาทางสมองในทารก ระดับโปรตีนชนิดนี้ในระดับต่ำที่สุดพบในสายรกของทารกเพศชาย เนื่องจากยีนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ยีนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะเเวดล้อมในรกที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวมารดา อาหารที่มารดารับประทาน รวมถึงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมารดาและกิจกรรมอื่นๆ สำหรับโรคจิตหลอนเป็นอาการทางระบบประสาทที่ผู้ป่วยสร้างมโนภาพขึ้นมาเอง ส่วนผู้ป่วยโรคออทิสซึ่มมีความผิดปกติในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคม ทีมนักวิจัยให้เหตุผลว่ายีนตัวที่มีบทบาทในการเกิดโรคด้อยพัฒนาทางสมองอาจจะเกี่ยวข้องกับโครโมโซมเอ็กซ์ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศหญิง ทีมนักวิจัยค้นพบว่าเกิดระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโปรตีน OGT ในรกของลูกหนูตัวเมียสูงกว่าในรกของลูกหนูตัวผู้ นอกจากนี้ ระดับโปรตีนตัวนี้ยังมีระดับต่ำในรกของหนูตั้งท้องที่อยู่ในภาวะเครียดเมื่อเทียบกับหนูตั้งท้องที่ปลอดจากความเครียด หัวหน้าทีมวิจัยไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าโปรตีนโอจีทีมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองในมนุษย์ แต่ชี้ว่าการตรวจหาระดับของโปรตีนโอจีทีในรกทารกในครรภ์อาจจะช่วยให้ระบุได้ว่าทารกคนไหนมีความเสี่ยงสูงต่อโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนที่เป็นผลสืบเนื่องจากความเครียดของมารดาขณะตั้งครรภ์ และ โปรตีนตัวนี้จะช่วยให้แพทย์รู้ว่าทารกคนไหนที่ต้องติดตามดูพัฒนาการเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงต่อความบกพร่องเหล่านี้และหาทางแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ และในกรณีของโรคออทิสซึ่ม นักวิจัยเเนะนำว่าการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆจะเป็นประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงความสามารถในการสื่อสารของเด็ก

  • จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด

    จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด

    จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ แพร่ระบาดในนครเซี่ยงไฮ้ตอนต้นเดือนมีนาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน จากจำนวนผู้ล้มป่วยที่มีรายงาน 24 คน ทางการจีนได้จับตาดูการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่นักวิจัยกำลังทำงานเพื่อระบุชี้ให้ได้ว่าเชื้อไวรัสที่ว่านี้แพร่ออกไปได้อย่างไร องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวยืนยันในที่ประชุมแถลงข่าวร่วมกับประธานคณะกรรมการอนามัยแห่งชาติและการวางแผนครอบครัวของจีนที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันจันทร์ว่า เท่าที่ปรากฎ ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ค่อนข้างกระจัดกระจาย และอาจคงสภาพเช่นนั้นอยู่ต่อไป เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ควรตื่นตระหนกกัน  อย่างไรก็ตาม ทางการจีนกำลังจับตาดูโรคนี้อย่างใกล้ชิดหลังจากที่ให้ปิดตลาดสัตว์ปีกที่เซี่ยงไฮ้ในสัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้งกำจัดสัตว์ปีกในสต๊อคหลังจากพบเชื้อไวรัสดังกล่าวในนกพิราบที่นั่น และแม้เจ้าหน้าที่ของ WHO จะบอกว่า ไม่ควรตื่นตกใจ Laurie Garrett นักวิจัยอาวุโสทางด้านสาธารณสุขโลกของ Council on Foreign Relations กล่าวเตือนว่า ถ้ายังมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสเชื้อพันธุ์ใหม่นี้เพิ่มขึ้นต่อไปอีก ก็อาจจะต้องเริ่มเตรียมตัวจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมา โดยยกตัวอย่างไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปีค.ศ. 2009 ซึ่งทำให้แต่ละประเทศหาทางป้องกันตนเองด้วยการปิดท่าอากาศยาน กักกันตัวคนเดินทาง และกว้านเก็บยาและวัคซีนอย่างไรก็ตาม นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Hong Kong พยายามปลอบขวัญกำลังใจของผู้คน ด้วยการประกาศว่าจะกลับไปศึกษาการแพร่ระบาดของปีค.ศ. 2009  เพื่อยืนยันว่า…

  • กลุ่มรากหญ้าของเวียดนาม ผลักดันนโยบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่ม

    กลุ่มรากหญ้าของเวียดนาม ผลักดันนโยบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่ม

    กลุ่มรากหญ้าของเวียดนาม ผลักดันนโยบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่ม แม้ว่าจะมีจำนวนโรงเรียนเพื่อเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้นในเวียดนาม รัฐบาลเวียดนามยังไม่มีนโยบายระดับชาติในด้านการบำบัดความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองประเภทออทิสซึ่มในเด็ก หรือ เอเอสดี เช่นเดียวกับอีกหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งนี้เวียดนามจัดการประชุมความรู้เรื่องโรคออทิสซึ่มเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆนี้ หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องหวังว่าการประชุมจะกระตุ้นให้รัฐบาลเวียดนามปรับปรุงนโยบายด้านการศึกษาและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองต่างๆ เอเอสดี เป็นกลุ่มความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองที่ซับซ้อนหลายๆอย่างๆ มีคนเป็นโรคนี้กันหลายสิบล้านคนทั่วโลก เป็นความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าสังคม การสื่อสารและมักมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ด็อกเตอร์เองกล่าวว่ายอมรับว่าในอดีต ผู้ที่เป็นโรคออทิสซึ่มจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลและถูกมองว่าเป็นคนบ้าหรือคนจิตฟั่นเฟือน หากเปรียบเทียบกับปัจจุบัน คนทั่วไปมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่มมากขึ้นและมองว่าออทิสซึ่มไม่ใช่โรคจิตร้ายแรง ในการประชุมเกี่ยวกับโรคกลุ่มออทิสซึ่มที่ขึ้นในเวียดนามเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันพร้อมด้วยบรรดาเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการศึกษาและกระทรวงแรงงานแห่งเวียดนามเข้าร่วมในการประชุมด้วยซึ่งหลายคนหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างนโยบายแห่งชาติเพื่อการบำบัดและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ เขากล่าวว่าการอธิบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่มและผลพวงจากความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองทำได้ง่ายขึ้นเนื่องจากพ่อแม่ชาวเวียดนามมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการของโรคมากขึ้นกว่าเดิม บรรดาสื่อมวลชนในเวียดนามรายงานว่าพบผู้มีอาการพัฒนาการทางสมองบกพร่องเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเพราะว่าการวินิจฉัยโรคพัฒนาดีขึ้นหรือว่าคนเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นกันแน่

  • นักวิทยาศาสตร์ ระบบพันธุกรรม สาเหตุของโรค Alzheimer

    นักวิทยาศาสตร์ ระบบพันธุกรรม สาเหตุของโรค Alzheimer

    นักวิทยาศาสตร์ ระบบพันธุกรรม สาเหตุของโรค Alzheimer นักวิทยาศาสตร์สหรัฐสามารถระบุหน่วยพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรค Alzheimer ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาในอนาคต การค้นพบชิ้นนี้เป็นผลงานของทีมนักวิจัยจาก Washington University เมือง St. Louis รัฐ Missouri ทีมวิจัยกล่าวว่า ชนิดของพันธุกรรมที่ควบคุมระดับของโปรตีนที่มีชื่อว่า Protein Tau ซึ่งจะอยู่ในระดับสูงสำหรับผู้ป่วย Alzheimer ขณะนี้วงการแพทย์เชื่อว่า โรค Alzheimer เริ่มทำลายสมองก่อนที่ผู้ป่วยและคนรอบข้างจะรู้ตัว ซึ่งอาจารย์ Goate กล่าวว่า ความรู้ใหม่นี้อาจช่วยผู้ผลิตยาให้สามารถคิดค้นยาที่ความคุมการทำงานของพันธุกรรม ที่เป็นตัวกำหนดระดับของ Protein Tau ดังนั้นการคิดค้นยาต้าน Alzheimer อาจอาศัยรูปแบบการทำงานของยาควบคุมระดับ Cholesterol เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ งานวิจัยชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่ชื่อว่า Neuron

  • องค์การอนามัยโลก ชี้ว่าโรคหูพิการ สามารถป้องกันได้

    องค์การอนามัยโลก ชี้ว่าโรคหูพิการ สามารถป้องกันได้

    องค์การอนามัยโลก ชี้ว่าโรคหูพิการ สามารถป้องกันได้ องค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีคนมากกว่า 360 ล้านคนทั่วโลกหรือประมาณห้าเปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมดที่มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง รายงานขององค์การอนามัยโลกชี้ว่ายิ่งคนเริ่มสูงวัยมากขึ้น ก็ยิ่งประสบกับปัญหาการได้ยินบกพร่องมากขึ้น รายงานชี้ว่าหนึ่งในสามของกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปหรือประมาณ 165 ล้านคนทั่วโลกมีปัญหานี้ แต่ปัญหาการได้ยินบกพร่องไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะวัยที่สูงขึ้น ด็อกเตอร์เชลลี่ ชัดดา แห่งฝ่ายป้องกันความพิการทางสายตาและการได้ยิน องค์การอนามัยโลก กล่าวว่ามีเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีราว 32 ล้านคนทั่วโลกที่มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง องค์การอนามัยโลกชี้ว่าราวครึ่งหนึ่งของกรณีผู้ที่มีปัญหาการได้ยินบกพร่องสามารถป้องกันได้อย่างง่ายดาย หลายกรณีสามารถบำบัดให้หายได้หากพบปัญหาและได้รับการรักษาเเต่เนิ่นๆด้วยการผ่าตัดฝังอุปกรณ์หูเทียม แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายเพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากไม่ไปพบเเพทย์เพื่อหาทางบำบัด องค์การอนามัยโลกเร่งเร้าให้มีการพัฒนาโครงการป้องกันการสูญเสียการได้ยินให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบการสาธารณสุขพื้นฐานและชี้ว่ามีมาตรการอื่นๆอีกหลายอย่างที่ช่วยป้องกันปัญหาการได้ยินบกพร่อง อาทิ การฉีดวัคซีนให้แก่เด็กเล็กเพื่อป้องกันไข้สมองอักเสบ โรคหัด คางทูมและหัดเยอรมัน และส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ตรวจหาโรคซิฟิลิสและเข้ารับการบำบัดหากเป็นโรคนี้เนื่องจากโรคนี้จะส่งผลให้ทารกในครรภ์หูหนวกได้

  • แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

    แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

    แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้ แพทย์ชี้ ว่าโฟลิคเอซิดช่วยป้องกันความพิการทางสมองของทารกในครรภ์รวมทั้งออติสซึ่มได้หากผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์รับประทานวิตามินชนิดนี้เสริมตั้งแต่ก่อนตั้งท้องจนถึงช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ด็อกเตอร์พอล สุเรน แห่งสถาบันสุขภาพประเทศนอร์เวย์ แนะนำว่า ผักใบเขียว ผลไม้และถั่วชนิดต่างๆมีสารโฟลิคเอซิดซึ่งเป็นวิตามินบีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ๆที่เเข็งแรง การรับประทานวิตามินต่างๆก่อนตั้งภรรค์ รวมทั้งกรดที่โฟลิคเอซิด จะช่วยให้ทารกในครรภ์สร้างหลอดประสาทได้อย่างสมบูรณ์ หลอดประสาทของตัวอ่อนทารกในครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของสมองมนุษย์และจะปิดในช่วงต้นๆของพัฒนาการของตัวอ่อนและหากหลอดประสาทปิดไม่สนิทจะทำให้เกิดความบกพร่องใน หลอดประสาทที่ก่อให้เกิดความผิดปกติในกระดูกสันหลังที่เรียกว่า Spina bifida ทีมวิจัยทำการค้นคว้าข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของผู้หญิงสองกลุ่ม โดยแม่กลุ่มแรกรับประทานโฟลิคเอซิดตั้งเเต่เริ่มตั้งครรภ์ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเริ่มกินโฟลิคเอซิดในช่วงหลังตั้งครรภ์สามเดือนแรก ผลปรากฏว่าหญิงที่รับประทานโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งท้อง ทารกในครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับหญิงที่เริ่มรับประทานโฟลิคเอซิดล่าช้าคือเริ่มในระยะหลังสามเดือนเเรกของตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรคออติสซึ่มจะไม่ลดลงเลย การเริ่มต้นรับประทานโฟลิคเอซิดเสริมกับระยะของการตั้งครรภ์มีความเกี่ยวพันกันมากหากต้องการลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่ม ผู้หญิงควรเริ่มกินโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งหลังตั้งครรภ์ได้สองเดือน ผลการสำรวจโดย The March of Dimes หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กภาคเอกชนในสหรัฐ เปิดเผยว่า ผู้หญิงชาวสหรัฐน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์รู้ว่าโฟลิคเอซิดช่วยลดความพิการของทารกตั้งแต่ในครรภ์

  • นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน

    นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน

    นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน นักวิจัยอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับสารกระตุ้นที่ก้อให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน พบว่า สารเคมีที่อยู่ในเนื้อแดงนั้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นอกจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลที่ไปอุดตันเส้นเลือดและก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ ทีมแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ แนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจควบคุมปริมาณเนื้อเเดงที่รับประทานให้น้อยลง รวมทั้งเนื้อสเต็กและเนื้อแกะ เนื่องจากไขมันและคอเลสเตอรอลในเนื้อแดงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เพราะในเนื้อแดงยังมี สารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารคาร์นิทีน (carnitine) เมื่อสารเคมีตัวนี้ถูกย่อยโดยเชื้อเเบคทีเรียในลำใส้ จะผลิตสารอีกชนิดหนึ่งออกมาเรียกว่า สาร TMOA เป็นสารที่พบในปริมาณสูงในกลุ่มคนที่นิยมรับประทานเนื้อแดงและเชื่อว่าเป็นสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทีมนักวิจัยทดลองสารเคมีตัวนี้ในหนูทดลอง โดยการให้หนูทดลองกินอาหารที่มีสาร TMOA ผสมอยู่ในปริมาณสูงเริ่มมีอาการเส้นเลือดอุดตัน และเมื่อทีมนักวิจัยทดลองกำจัดแบคทีเรียในลำใส้ของหนูที่ทำหน้าที่ย่อยสารคาร์นิทีนให้เป็นสาร TMOA หนูทดลองเริ่มหายจากอาการเส้นเลือดอุดตัน สารคาร์นิทีนพบในปริมาณต่ำในเนื้อปลาและเนื้อไก่ และยังพบในผักบางชนิดและข้าวสาลี ตลอดจนในคนที่รับประทานเม็ดอาหารเสริม คุณไซเดซ กล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะเเนะนำให้คนหลีกเลี่ยงอาหารอื่นๆที่มีสารคาร์นิทีนนอกเหนือไปจากเนื้อแดง

  • องค์กรอนามัยโลก เผยการศึกษาเรื่อง ไวรัส H7N9 ในจีน ว่ายังระบุที่มาไม่ได้

    องค์กรอนามัยโลก เผยการศึกษาเรื่อง ไวรัส H7N9 ในจีน ว่ายังระบุที่มาไม่ได้

    องค์กรอนามัยโลก เผยการศึกษาเรื่อง ไวรัส H7N9 ในจีน ว่ายังระบุที่มาไม่ได้ องค์กรอนามัยโลกชี้ว่า ไวรัสไข้หวัดนก  H7N9 ที่พบในประเทศจีน เป็นไวรัสที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก แต่ยังบอกไม่ได้อย่างแน่นอนว่าแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสนี้คืออะไร ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่นี้ แพร่ระบาดไปถึง 7 จังหวัดในประเทศจีน และทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 22 คนจากจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 คน องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) กล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ แต่เตือนว่าเชื้อไวรัสนี้เป็นอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์ และจากหลักฐานที่ได้เห็น เชื้อไวรัส H7N9 แพร่จากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัส H5N1 เชื้อไวรัส H5N1 เป็นเชื้อไข้หวัดนกที่ปรากฎขึ้นในปีค.ศ. 2003 และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แพร่ระบาดออกไปถึงสามทวีป และมีผู้เสียชีวิตเพราะไวรัสนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อ 622 คน มีปัจจัยหลายอย่างที่ยังระบุไม่ได้ รวมทั้งแหล่งที่มาของเชื้อไวรัส การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ตัวที่ทำให้เกิดโรค พิษ การเคลื่อนย้ายที่ อาการของโรค และสถานภาพของการระบาดของโรค ซึ่งหมายความว่า จะต้องศึกษาหาความรู้กันอีกมาก นักวิทยาศาสตร์ของ WHO และของทางการจีนมีความเห็นร่วมกันว่า…