Author: pure
-
สัญญาณเตือนอันตราย โรคเส้นเลือดในสมองแตก
สัญญาณเตือนอันตราย โรคเส้นเลือดในสมองแตก เส้นเลือดในสมองแตก คืออาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด เลือดออกในสมอง ทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว มักมีอาการปวดหัว แต่บางรายก็ไม่มีก็ได้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจหมดสติ แขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง พูดไม่ชัด หรือบ้างก็พูดไม่ได้ อาการแสดงจะขึ้นกับขนาดของก้นเลือดและอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการของตนเองอย่างใกล้ชิด เพราะโรคนี้เวลาเป็นมักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน หากได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงทีจะลดอัตราการเสียชีวิตและพิการลงได้มาก จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้มาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น เช่นการทำงานหนัก ไม่ออกกำลังกาย กินแต่ของที่มีไขมัน น้ำตาล และเค็มมาก อ้วน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ และเกิดจากโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อีกส่วนหนึ่งก็คือปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเช่น กรรมพันธุ์ ความชราของร่างกาย เชื้อชาติ วัยที่มากขึ้นด้วย ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มาถึงมือหมอก็มักจะมาด้วยอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง หน้าเบี้ยว ชา มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือมองเห็นแค่ครึ่งหนึ่งของแต่ละข้างก็ได้ ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน หรือเวียนหัว อาเจียน มีปัญหาการพูด ซึม หมดสติ ชัก เกิดได้หลายอาการรวมกัน แล้วแต่รูปแบบของหรือตำแหน่งของสมองที่มีการขาดเลือดหรือเลือดออกในสมอง หากไม่อยากตกเป็นผู้หนึ่งที่ต้องพิการหรือเสียชีวิต ควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการดังต่อไปนี้บ้างหรือเปล่า…
-
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ ในผู้หญิงวัยทองเมื่อฮอร์โมนหมดไปแล้วจะมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับและใจสั่น ซึ่งอาการก็ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่สิ่งที่รุนแรงกว่าคือโรคเรื้อรังที่เกิดจากวัยหมดประจำเดือน เกิดจากความชราภาพของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตามกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย หากร่างกายมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกที่จะเป็นโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ควบคุมการเพิ่มของน้ำหนักอย่างเข้มงวด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคร้ายแรงที่อาจคร่าชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ในวัยอื่นนั้น ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีความอ้วนน้ำหนักเกินขึ้นอยู่กับการทานอาหารเป็นสำคัญ แต่ในวัยหมดประจำเดือน บางครั้งแม้จะควบคุมอาหารอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักไว้ได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือควรควบคุมไว้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในสังคมคนเมืองปัจจุบันนี้อาหารการกินกลับเริ่มแย่ลง คนเรากินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูง ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย จริงอยู่ว่าเราอาจไม่สามารถทำอาหารทานเองได้ทุกมื้อ แต่เป็นไปได้ก็ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ มีรสหวานน้อย ๆ เค็มน้อย ๆ แล้วทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในส่วนของการออกกำลังกาย อย่างน้อยที่สุดควรให้ร่างกายได้ออกกำลังกายบ้าง แต่ละวันให้มีเวลาเดินเล่นอย่างน้อย 30-60 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก ควรเดินในเวลาที่มีแดดอ่อน ๆ อย่างช่วงเช้า ช่วงเย็น การตากแดดอ่อน ๆ จะช่วยให้ผิวหนังได้รับวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันรุดหน้าไปมาก…
-
สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุนั้น พบปัญหาข้อเสื่อมและกระดูกพรุนได้มาก มักเกิดกับข้อใหญ่ ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัก และข้อเข่าด้วย พบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไปด้วย อีกทั้งหากในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นเริ่มอ้วนขึ้น เข่าก็ต้องรับน้ำหนักส่วนเกินมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย ซึ่งสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณกำลังเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ก็ได้แก่ 1. เริ่มเจ็บเข่า ปวดแต่ไม่มาก แรก ๆ จะเริ่มรู้สึกขัด ๆ เข่าเวลาใช้งานก่อน แต่เมื่อพักก็จะดีขึ้น แต่หากทิ้งไว้นานและยังคงใช้งานต่อเนื่องก็อาจปวดจนเดินไม่ไหว 2. เข่าบวม จะพบได้ในระยะที่เข่าเริ่มเสื่อมมากแล้วและได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะบวมจนเห็นได้ชัดและเริ่มมีอาการปวดมากขึ้น หากรักษาอาการบวมก็จะทุเลาปวดได้ แต่หากกลับมาลงน้ำหนักอีกก็จะบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อนหรือเข่าฝืด จะเป็นในช่วงที่เข่ายังไม่บวม เวลานั่งจะลุกไม่ขึ้นเพราะเข่าอ่อนและเหยียดไม่ออก ต้องค่อย ๆ พยุงตัว อาการจะเป็นมากขึ้นจนสุดท้ายเข่าจะผิดรูปและเข่าโก่งงอได้ เมื่อเริ่มสงสัยว่าตนเองจะมีอาการข้อเข่าเสื่อมแล้วไม่ควรปล่อยให้เป็นมากขึ้น ควรเข้ารับการรักษา และควรดูแลตัวเองเพื่อมิให้อาการลุกลามมากขึ้นดังต่อไปนี้ – รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยให้อ้วน หรือน้ำหนักเกิน – ไม่ควรให้มีแรงกระแทกต่อหัวเข่า เช่น การกระโดดเชือก วิ่ง หรือมีการกระแทกข้อ แต่ให้ออกกำลังเข่าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง…
-
กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน
กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เพราะวิธีการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น จึงไม่ค่อยได้ใช้ร่างกายด้วย ประกอบกับที่อายุขัยของคนยุคนี้ยืนยาวขึ้นจึงพบโรคกระดูกพรุนมากตามไปด้วย โรคกระดูกพรุน ไม่ได้หมายถึงกระดูกมีรูพรุน ๆ นะคะ แต่หมายถึงมวลกระดูมีความหนาแน่นที่น้อยลง มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า จะทราบได้ก็คือผู้ป่วยมักกระดูกหันไปแล้ว ซึ่งก็มักจะสายเกินไปสำหรับการรักษา สาเหตุของโรคกระดูกพรุนหลัก ๆ ก็ได้แก่ – เชื้อชาติเอเชียและคอร์เคเชี่ยน จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุ่นได้ง่ายกว่าคนผิวดำ – ไม่ยอมออกกำลังกาย หรือมีชีวิตที่สะดวกสบายมากเกินไป – โรคบางชนิดที่ทำให้ขาดการเคลื่อนไหว เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต – ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ – ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนไม่สามารถรักษาให้กระดูกลับมามีสภาพเดิมได้ แต่การทานยาและการเสริมแคลเซียมช่วยให้กระดูกดีขึ้นได้ โดยยาตัวใหม่ ๆ ที่ใช้ในการรักษากระดูกพรุนก็คือยาในกลุ่ม Bisphophonate ในส่วนของการป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น ในผู้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายถึงสี่เท่า เพราะผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วความหนาแน่นของกระดูกจึงลดลง ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปจึงควรทานแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 1 กรัม เพื่อป้องกันไว้ก่อน นอกจากนี้ยังควรออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเดินลงน้ำหนักบนพื้นราบ ทานปลาทะเลและปลาที่ทอดกรอบได้ทั้งตัวเพื่อเสริมแคลเซียม รวมทั้งควบคุมน้ำหนักตัวมิให้อ้วนเกินมาตรฐาน เพราะน้ำหนักตัวที่กดทับจะยิ่งเพิ่มปัจจัยให้กระดูกพรุนได้เร็วขึ้น
-
ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม
ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุนมากถึงกว่าเจ็ดล้านคนเลยทีเดียว พบมากในผู้ที่มีอายุสี่สิบปีขึ้นและผู้สูงอายุด้วย ซึ่งนับวันตัวเลขผู้ป่วยก็จะยิ่งมากขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง โรคข้อเสื่อมนี้เป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ฉาบผิวกระดูกข้อต่อไว้ไม่ให้เสียดสีกันยามเคลื่อนไหว แต่เมื่อกระดูกอ่อนหรือพรุน กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเป็นผลให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ ทำให้กิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำมีปัญหาได้ หากคุณไม่อยากเป็นโรคข้อเสื่อมก่อนวัย ควรดูแลร่างกายตัวเองดังต่อไปนี้นะคะ 1. ควบคุมน้ำหนักไว้ให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยตัวให้อ้วน เพราะนี่คือสาเหตุใหญ่ของโรคข้อเสื่อมเลยก็ว่าได้ ยิ่งอ้วนมากเท่าไร ข้อต่อก็ยิ่งรับน้ำหนักมาขึ้นเท่านั้น หากในช่วงต้นชีวิตที่ยังไม่มีอาการโรคข้อเสื่อม ได้ลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักไว้ในมาตรฐานตลอดเวลา กับทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงโรคข้อเสื่อมได้ดีเลยทีเดียว 2. ไม่อยู่ในอิริยาบถที่ทำให้เกิดโรคข้อ เช่น การนั่งยอง ๆ นั่งกับพื้น ผุดลุกผุดนั่งบ่อย ๆ ขึ้นลงบันไดเป็นประจำ หรือทิ้งน้ำหนักลงขาข้างเดียว ทำให้ข้อต่อช่วงเข่า ขาลงไปมีปัญหาได้ แม้แต่ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หากไม่หมั่นขยับท่าทางบ่อยๆ และนั่งก้มคอหรือก้มหลังทำงานมาก ๆ ก็อาจทำให้ข้อต่อบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวมีปัญหาได้เช่นกัน หากไม่อยากปวดข้ออย่าก้มคอนาน ๆ ให้นั่งพิงพนักเก้าอี้ไว้ และลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ ด้วยนะคะ 3. ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ช่วยพยุงกระดูกเอาไว้ ลดโรคข้อเสื่อมได้ และการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อนี้ควรปรึกษาเทรนเนอร์หรือผู้ชำนาญจะดีที่สุดค่ะ 4. การใช้อาหารและยา หากเป็นโรคข้อเสื่อในระยะแรก ๆ นั้น…
-
ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก
ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก สำหรับวัยชราแล้ว อาหารทางใจ สำคัญกว่าอาหารใด ๆ ในโลก เพราะร่างกายที่ดีก็จะต้องมาพร้อมจิตใจที่ดี หากทำให้ผู้สูงอายุในบ้านมีความสุข รู้สึกดี สบาย สุขภาพก็จะพลอยดีไปด้วย ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุในบ้านจึงควรประกอบด้วยเคล็ดลับสามข้อต่อไปนี้ค่ะ 1. ให้ความใส่ใจ ลูกหลานที่ดูแลใกล้ชิดควรพูดคุย ให้ความสนใจ รับฟังและให้เกียติความคิดเห็นของท่าน เพราะบ่อยครั้งที่เราทำอะไรลงไปมักไม่ค่อยได้ถามหรือปรึกษาท่านเลย ทำให้ท่านรู้สึกสูญเสียความสำคัญในตัวเองลงไป จิตใจก็ห่อเหี่ยวลง ดังนั้นจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของท่านให้เหมือนเดิมจะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นและร่างกายก็แข็งแรงด้วย นอกจากนี้ยังควรใส่ใจในเรื่องของอนามัยส่วนตัว การออกกำลังกายและอาหารที่เหมาะสมด้วย ควรเลือกอาหารที่ย่อยได้ง่ายให้ทานแต่มีโปรตีนสูง อาจจะเป็นเนื้อปลา เนื้อไก่ ไม่ติดมัน มีไขมันต่ำ จัดผักและผลไม้ไม่หวานให้ทานบ้าง พากันไปออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายตามกำลังกาย จะช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น รวมทั้งควรพาไปพบแพทย์ตามนัดและตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องด้วย 2. รู้ใจว่าท่านต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องถามแล้ว เพราะเป็นคนใกล้ชิดกันก็น่าจะจำกัดได้ รู้นิสัยกันมากกว่าใคร ควรหาของอร่อยแบบที่ท่านชอบ หรือพากันไปเที่ยวบ้างจะได้สดใสขึ้น เรื่องไหนที่ท่านไม่ชอบก็หลีกเลี่ยงไม่ทำ หรือไม่ชวนกันคุย จิตใจจะได้ไม่ขุ่นมัวจนทำให้เสียสุขภาพได้ 3. เข้าใจว่าเมื่อสังขารเสื่อมไป จากที่เคยทำอะไร ๆ เองได้ก็ต้องหันมาพึ่งลูกหลาย ซึ่งในอนาคตทุกคนก็ต้องเป็นเช่นนั้น ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจท่าน ไม่ควรไปบั่นทอนความรู้สึกให้แย่ลง และควรพูดจาดี ๆ ปฏิบัติต่อท่านด้วยความเคารพและให้เกียติเสมอด้วย และนอกจากนี้ลูกหลานก็ควรหมั่นสังเกตอาการ…
-
ใช้ความเมตตากรุณา เป็นยารักษาโรคโกรธ โรคพยาบาท
ใช้ความเมตตากรุณา เป็นยารักษาโรคโกรธ โรคพยาบาท ใจที่บริสุทธ์โปร่งใส คือใจที่มีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ไม่รู้สึกโกรธ ไม่มีโทสะหรือความพยาบาทใด ๆ มาครอบงำ แต่คนในสังคมนี้เล่า ยากจะหากคนที่มีใจบริสุทธิ์ปลอดโปร่งได้อย่างแท้จริง ส่วนใหญ่ใจมีแต่ความหม่นมัวมืดดำไปด้วยโรคทางใจทั้งสิ้น คนที่เป็นโรคทางใจนั้น ก่อให้เกิดผลร้ายมากกว่าโรคทางกาย เพราะโรคใจเกิดขึ้นได้รวดเร็วทันที แล้วแล่นกระจายไปทั่วตัวในพริบตา เกิดได้บ่อยวันละหลายครั้ง ไม่เลือกที่ไม่เลือกเวลา โรคใจที่ว่าก็คือ โรคโลภ โรคโกรธ โรคหลงนั่นเอง ทำให้คนเราประสบกับความวิบัติมามากมายนักแล้ว โรคลุแก่โทสะ มีความคิดอยากประทุษร้ายกัน เป็นโรคของคนที่มีใจคอโหดเหี้ยม หากไม่รู้จักยังยั้งชั่วใจก็ย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ตนได้มากกว่าโรคอื่นมากนัก โรคโกรธ เกิดขึ้นจากการกระทำที่คนอื่นมากระทำแก่ตน ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม ทำให้รู้สึกขัดเคืองใจ แม้จะเป็นการกระทำของตัวเองที่ไม่ได้ดังใจก็สามารถโกรธตัวเองได้ด้วย ความโกรธสามารถเปลี่ยนคนมีสติปัญญา คนมีการศึกษา มีความสามารถให้กลายเป็นคนโง่ ทำเรื่องร้ายแรงได้ทั้งสิ้น โรคผูกโกรธ คือโรคที่ต่อเนื่องมาจากโรคโกรธ เป็นการผูกความโกรธไว้ให้คุกรุ่นในใจ แต่เมื่อใดที่เห็นหน้าหรือนึกขึ้นมาได้ก็ทำให้โกรธได้เสมอ มีความฟุ้งซ่านเคืองแค้น พยายามหาทางแก้แค้นให้สมกับที่ทำไว้กับตนเอง โรคพยาบาท เป็นโรคที่ต่อเนื่องจากความผูกโกรธอีกที เป็นความรู้สึกอยากล้างแค้นพล่าผลาญคนที่มาทำไว้กับตนเอง เป็นโรคร้ายแรงกว่าความโกรธและความผูกโกรธ เพราะจะแก้แค้นจองเวรไม่รู้จักจบสิ้น ยารักษาโรคโกรธ โรคลุแก่โทสะ โรคผูกโกรธ และโรคพยาบาทนี้ก็คือ การใช้ความเมตตากรุณาเข้าเปลี่ยนความรู้สึกดังกล่าว หากเมื่อใดที่รู้สึกโกรธแค้นผู้ใจเจ็บหรือพยาบาทขึ้นมาก็ให้ใช้ความรักความสงสารแทน สงสารว่าที่เขามาทำกับเรานั้นเขาน่าสงสาร…
-
ไข้หูดับ เกิดจากเนื้อหมู
ไข้หูดับ เกิดจากเนื้อหมู โรคไข้หูดับ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตปโตคอกคัส ซูอิส ซึ่งพบได้มากในเนื้อหมูดิบ ๆ โดยปกติเชื้อนี้จะอยู่ในโพรงจมูกของหมู เมื่อหมูอ่อนแอจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เชื้อก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นไปตามกระแสเลือด หากนำหมูเหล่านี้มาบริโภคแบบดิบ ๆ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ แล้วเชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายของผุ้บริโภค หรืออาจเข้าทางผิวหนัง จากบาดแผล รอยถลอด เยื่อบุตา หรือเยื่อบุอ่อนอื่น ๆ ใช้เวลาฟักตัวไม่กี่ชั่วโมงจนถึงสามวัน และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้อวัยวะภายในต่าง ๆ เกิดการอักเสบและมีปัญหา ทำให้มีอาการไข้ ปวดหัว คอแข็ง ประสาทการทรงตัวเสียไป บางรายก็ทำให้เยื่อบุหัวใจและปอดอักเสบ ตาพร่ามัว มีโอกาสหูหนวกถาวร และบางรายที่รุนแรงก็อาจตายได้ ดังนั้นการนำเนื้อหมูมาบริโภค ต้องปรุงให้สุกจริง ๆ ยิ่งโดยเฉพาะคนที่กินอาหารปิ้งย่าง จำพวกหมูกระทะ หมูย่าง แหนม ลาบ หลู้ต่าง ๆ จะมีโอกาสติดเชื้อได้มาก รวมไปถึงผู้เลี้ยง ผู้ชำแหล่ะ ผู้ขาย ก็ควรสวมถุงมือและหน้ากากป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายด้วย หากมีบาดแผลอยู่แล้วต้องปิดแผลให้มิดชิด และอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเสร็จงาน หากมีอาการไข้สูง ปวดหัวหลังกินหมู…
-
ดูแลหัวใจของคุณให้ดีนะ
ดูแลหัวใจของคุณให้ดีนะ โรคหัวใจเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนวัยทำงานในประเทศไทยไปมาก โดยมากจะพบได้ในผู้ที่มีอายุ 35-36 ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยทำงานและกำลังสร้างครอบครัว โดยสถิติของมูลนิธิโรคหัวใจแห่งประเทศไทยนั้น พบว่าทุกเก้านาทีจะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 1 ราย และมีอัตราการเพิ่มผู้เสียชีวิตมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่าง เพศ อายุ และพันธุกรรม ซึ่งเพศชายจะมีภาวะโรคหัวใจวายก่อนเพศหญิงถึงสิบปี และหากในครอบครัวมีประวัติคนเป็นโรคหัวใจและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อัตราเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นไปด้วย แต่ในด้านปัจจัยที่ควบคุมได้นั้น เป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจให้มากเป็นพิเศษ เพราะมีคนไม่น้อยเลยที่ไม่มีญาติพี่น้องป่วยหรือตายด้วยโรคหัวใจ แต่ต้องมาตายเพราะโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้นเราจึงควรดูแลหัวใจของเราให้ดีด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ – ทานอาหารให้เหมาะสม ทานผักสด ผลไม้สด และธัญพืชให้มากขึ้น เลือกทานไขมันไม่อิ่มตัว ดื่มนมไขมันต่ำ ทานอาหารประเภทปลา งดอาหารมัน ๆ อาหารทอด ที่จะทำให้เกิดการสะสมคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ – ออกกำลังกายให้เป็นประจำ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นมากขึ้น ลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย – อย่าปล่อยตัวให้อ้วน – ทำจิตใจให้สบาย อย่าปล่อยให้เครียด เพราะความเครียดจะเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น และทำให้เกิดโรคนานาชนิดด้วย – หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเสพยาเสพติดต่างๆ ฯลฯ…
-
ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!
ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?! ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ประชากรที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็ยังมักจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคนี้อยู่ มีมากด้วยนะคะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 5-7 ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว เป็นโรคร้ายแรงที่ให้ผู้ป่วยที่ไม่มากรักษาถึงกับฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว และส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สำคัญก็คือมาจากพันธุกรรมด้วย คือหากในครอบครัวหรือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย คู่แฝดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา ก็มักจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นคู่แฝดกันด้วยแล้ว จะมีโอกาสมากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว โรคซึมเศร้านี้ไม่จำเป็นว่าชีวิตต้องได้รับความทุกข์เศร้าอะไรก็ป่วยได้ บางคนชีวิตดีทุกอย่าง หน้าที่การงานดี ครอบครัวดี ลูกดี การเงินดี จู่ ๆ ก็เศร้าขึ้นมาได้ ซึ่งก็คือเกิดจากยีนหรือพันธุกรรมนี่แหล่ะ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน บางคนมียีนอยู่แล้วมาเจอกับมรสุมชีวิตอีกก็ยิ่งกระตุ้นให้ป่วยได้มากขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือยัง ก็ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการห้าข้อขึ้นไป ติดต่อกันนานเกินสองอาทิตย์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว – อารมณ์ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด – ไม่สนใจสิ่งรอบตัว – รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิทำอะไร – อ่อนเพลีย – ทำทุกอย่างชื่องช้าไปหมด – ทานอาหารมากขึ้นหรือทานน้อยลง – นอนมากขึ้นหรือนอนน้อยลง – ตำหนิตัวเอง…