Author: pure
-
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การจะใช้ชีวิตคู่ให้ราบรื่นและมีความสุขนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ รวมทั้งปรับตัวเข้าหากัน ดังนั้นทั้งคู่จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและศึกษาซึ่งกันและกันก่อนแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตคู่ที่ทั้งสองเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วยกันมีความสุขอย่างยั่งยืนค่ะ อันดับแรกจึงควรศึกษากันและกันก่อนว่ามีความพร้อมมากน้อยขนาดในการอยู่ร่วมกัน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาว่าการที่เลือกกันและกันนี้ไม่ใช่การเลือกด้วยอารมณ์เท่านั้นแต่เลือกด้วยความเหมาะสมด้วย ประกอบการมีชีวิตคู่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ที่ใช้ในการสร้างครอบครัว และอันดับสุดท้ายที่ต้องคำนึงก็คือ ควรเข้าตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการมีครอบครัว และตรวจว่าทั้งสองฝ่ายมีโรคทางพันธุกรรมหรือโรคอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิตแต่งงานด้วยหรือไม่ ซึ่งการเข้าตรวจสุขภาพก่อนการมีครอบครัวนี้ก็เพื่อ 1. ตรวจให้แน่ใจว่ามีอาการหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตหรือไม่ 2. เพื่อค้นหาความบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการมีเพศสัมพันธ์และเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ 3. ตรวจเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลและความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี โรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย 4. ตรวจปอดเพื่อหาความผิดปกติ 5. เพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันโรคหัดเยอรมันและบาดทะยัก 6. เพื่อให้ทั้งคู่ได้รับคำแนะนำในเรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดและความรู้เรื่องเพศ ฯลฯ ชีวิตคู่จริง ๆ ไม่ได้เหมือนในละครเสมอไป ที่พอจบเรื่องก็แฮปปี้เอนดิ้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตอีกแบบหนึ่งต่างหาก หากทั้งคู่พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน พร้อมที่จะพบสุขพบทุกข์ด้วยกันและรับผิดชอบเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ชุมชนและบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป ชีวิตคู่ก็จะมีความสุขร่วมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งค่ะ
-
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค บรรดาอาหารที่มีรสเค็มจัดทั้งหลายล้วนมีส่วนประกอบของโซเดียมทั้งสิ้น รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมอย่าง ผงฟู ชูรส เนยเทียม น้ำสลัดต่าง ๆ ก็ด้วยนั้น สร้างปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกันหากบริหารมากเกินพอดี และมีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตได้ง่าย ทั้งยังทำให้เกิดการสะสมของน้ำตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ แล้วยังทำให้เกิดเลือดแข็งตัวได้ง่ายหากมีระดับเกลือแร่ในเลือดสูงเกินไป อันจะนำไปสู่ภาวะไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดในสมองตีบตัน หัวใจวาย ไตวายได้ มีผลการวิจัยพบว่า การกินเกลือแกงมากกว่า หกกรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้ รวมไปถึงมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว เราจึงควรทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย ๆ และเค็มน้อย ๆ ด้วย โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ลดการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอส เต้าเจี้ยว ผงชูรส ฯลฯ และชิมก่อนเติมทุกครั้งด้วย รวมทั้งลดการจิ้มน้ำจิ้ม หรือทานน้ำพริก พริกแกงต่าง ๆ เพราะมีเกลืออยู่เยอะมากด้วยเช่นกัน 2. ควรทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย ๆ หรืออาหารจากธรรมชาติ…
-
รู้จักและป้องกันตัวเองจากโรคพิษสุนัขบ้า
รู้จักและป้องกันตัวเองจากโรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้านั้นเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงมาก หากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาได้เลย ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกรายไป ในแต่ละปีนั้นทั่วโลกมีคนตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าโดย 10 นาทีต่อราย หรือชั่วโมงละ 6 รายนั่นเอง แม้แต่ในประเทศไทยก็มีสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคนี้หลายรายด้วยกัน บางรายก็ตายด้วยความใจบุญ เช่นไปช่วยลูกแมวที่โดนสุนัขรุมกัด หรือไปช่วยลูกสุนัขจรจัดที่ได้รับบาดเจ็บจนโดนกัดและติดเชื้อ พอสุนัขตายก็ไม่ยอมไปตรวจ จึงเสียชีวิตในเวลาต่อมา อีกทั้งโรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่ได้เป็นเฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น และสามารถติดต่อสู่คนได้แม้ลูกสุนัขจะมีอายุไม่ถึงหนึ่งเดือนก็ตาม แล้วก็ยังแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนการแสดงอาการของโรคออกมาถึงสิบวัน โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ทั้งกับคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น คน หมา แมว ลิง ชะนี หนู กระแต กระรอก วัว ควาย แพะ แกะ ฯลฯ โดยเชื้อจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคแล้วเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วน หรือเยื่อบุอ่อนบนร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่เส้นประสาทสู่สมอง และเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแสดงอาการภายในประมาณสองอาทิตย์ถึงสองเดือน และบางกรณีอาจนานถึงหกเดือนเลยทีเดียว นอกจากโรคนี้จะพบได้บ่อยในสุนัขแล้ว รองลงมาก็คือแมวด้วย จึงไม่ควรให้แมวมากัดข่วน หรือเลียตามร่างกายใบหน้า โดยเฉพาะเด็ก ๆที่ชอบเล่นกับหมามา หากถูกกัดหรือโดนเล็บขีดข่วนแม้เพียงเล็กน้อยก็ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่หลายครั้งประมาณ 10-15 oทีขึ้นไป เพื่อล้างเชื้อโรคออกจากแผล แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือใส่ยารักษาแผลสด แล้วตามหาเจ้าของหรือจดจำลักษณะของสัตว์ตัวนั้นไว้ ถ้าเป็นสัตว์มีเจ้าของให้ดูอาการเป็นเวลา 10…
-
ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา
ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา การรักษาตัวเองให้เป็นผู้ห่างไกลโรคอยู่เสมอนั้นเป็นพรอันยิ่งใหญ่ที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา เพราะหากเจ็บป่วยด้วยแม้เพียงโรคโดยเดียว อาจทำให้เสียทั้งเวลาและเงินทองไปกับการรักษามากมาย ยิ่งหากเป็นผู้สูงวัยด้วยแล้ว บางรายต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด ในขณะที่บางคนก็ต้องทำงานตลอดชีวิตเพื่อมารักษาโรคอีก แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลได้ก็ตาม ก็ยังคงต้องหาเงินเพื่อมารักษาและดูแลตัวเองมากกว่าคนที่แข็งแรงอยู่ดี ดังนั้นเราจึงควรเตรียมสุขภาพเราไว้ให้ดีแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่เมื่อเราเข้าสู่วัยชราแล้วจะไม่ต้องเป็นโรคเรื้อรังให้เป็นภาระทั้งตัวเองและลูกหลานด้วย โดยทั่วไปนั้นเมื่ออายุเข้าเลขสามแล้ว ตลอดทั่วร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคทางสมอง กระดูกพรุน โรคสายตา ฯลฯ ดังนั้นก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปจนเกิดโรคควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ควรคุมการทานอาหารให้ดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง อาหารที่มีเกลือมาก และอาหารรสหวานจัด 2. ควรเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่ด้วย 3. หมั่นออกกำลังกายให้เหมาะสม และเป็นกิจวัตรอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมงขึ้นไป 4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน อย่าให้อ้วน 5. รักษาสุขภาพจิตให้ดี อย่าให้เครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วย 6. ดูแลตนเองและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นควรไปพบแพทย์…
-
การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ไม่ง่ายเลย.. สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว เพราะโรคนี้จะทำให้เขาเหล่านั้นมีอาการหลงลืม สูญเสียความรับรู้และความรู้สึกนึกคิดไป รวมทั้งการตัดสินใจและการไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เมื่อนานไปก็อาจทำให้ผู้ดูแลป่วยจนกลายเป็นโรคเครียดตามไปอีกคน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แบบนี้ ก็ลองนำเอาวิธีการปรับตัวดังกล่าวต่อไปนี้ไปปรับดูนะคะ – ทำความเข้าใจและยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือทำนั้น ไม่ได้แกล้งหรือเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นความผิดปกติทางสมอง – ไม่ควรโกรธตอบผู้ป่วย เพราะเขาทำไปเพราะอาการป่วยไม่ได้ตั้งใจ – ในเวลาที่เหน็ดเหนื่อยลองหาเวลาพักผ่อน แล้วหาคนมาสับเปลี่ยนดูแลบ้าง อธิบายการดูแลให้คนที่ดูแลแทนคุณเข้าใจ เขาจะได้เข้าใจเห็นใจและเต็มใจมาช่วยเหลือคุณบ้าง – ลองหากำลังใจด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยด้วยกัน จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และจะได้นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน แถมยังได้กำลังใจมาช่วยเหลือกันและกันอีกด้วย – หางานอดิเรกมาทำคลายเครียด หรือออกกำลังกาย โยคะ ทำสมาธิ หรือฟังเพลงคลายเครียด เพื่อผ่อนใจจิตใจด้วยตัวเอง – หากมีความเครียดมาก หรือพยายามรักษาอาการเครียดแล้วไม่ดีขึ้น จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแล้วก็ควรขอรับการรักษาจากจิตแพทย์เถอะนะคะ ความเครียดนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรมีมามากหรือนานเกินไป ควรดูแลตัวเองให้มีความผ่อนคลาย เพื่อจะได้นำกำลังกายไปดูแลผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ
-
คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม
คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม สำหรับในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้อยู่ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยเองและผู้ดูแลกันเถอะค่ะ 1. ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดทุกคนคนทำความรู้จักและศึกษาโรคสมองเสื่อมนี้ให้มาก เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาบางประการได้เหมาะสมและทันท่วงที 2. ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน ควรแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน จะทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น 3. หากผู้ป่วยยังอยู่ในภาวะป่วยเริ่มแรก ยังมีอาการไม่มาก ควรพูดคุยให้ยอมรับฟังและเข้าใจเหตุผล รวมทั้งอธิบายข้อจำกัดของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบอกความรู้สึกของผู้ดูแลให้ผู้ป่วยเข้าใจ 4. ควรมีความยืดหยุ่นและใช้สัญชาติญาติรวมทั้งจินตนาการในการดูแลให้มาก อย่ายึดติดอะไรมากนัก เช่น หากคนไข้อยากสวมหมวกนอน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร ก็ไม่ควรห้าม 5. ปรับทัศนคติการมองว่าการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องไม่เคร่งเครียด จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น 6. ผู้ดูแลควรผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอและปล่อยวางบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคนี้จะทำให้เครียด หงุดหงิด และเหนื่อยง่าย และอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว 7. มีการพูดคุยสื่อสารกับคนป่วย เกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมอย่างละเอียด สั้น ๆ ง่าย ๆ เช่น การอาบน้ำ ซึ่งแม้จะดูเหมือนง่ายแต่สำหรับผู้ป่วยแล้วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ดูแลควรมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดด้วย 8. พยายามจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยให้เหมือนกันทุกวัน อย่าสับเปลี่ยนไปมาเพื่อให้เกิดความเคยชิน ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง 9. อย่าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วยผู้ป่วยต่อหน้า…
-
ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?
ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า? โดยทั่วไปผู้ที่มีวัยเข้าสู่วัยชราแล้วมักจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เล็กน้อยบ้างไปตามวัย บางทีก็แค่ลืมของว่าวางไว้ไหน แต่หากเป็นการลืมที่ไม่น่าเป็นไปได้อย่างการลืมทางกลับบ้าน หรือเอาเตารีดไปใส่ไว้ในตู้เย็น อะไรแบบนี้อาจเป็นไปได้ว่าผู้ชราท่านนั้นอาจมีอาการของโรคสมองเสื่อมแล้ว วันนี้จึงขอเอาข้อสังเกตของการเป็นโรคสมองเสื่อมมาฝากกันค่ะ ภาวะสมองเสื่อม คือความเสื่อมของสมองโดยรวมทั้งหมด ทำให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและบุคลิกภาพอย่างชัดเจน มักพบได้ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่หากมีอายุถึง 85 ปีก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว ส่วนใหญ่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง โดยอาการที่จะบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ก็ให้สังเกตดังนี้ค่ะ 1. มักจำเหตุการณ์ใหม่ ๆ ไม่ได้ แต่กลับจำเรื่องราวเก่า ๆ ในดีตได้ มักถามซ้ำเรื่องเดิมบ่อย ๆ 2. เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ได้ไม่ จำปัจจุบันไม่ได้ เช่น จำไม่ได้ว่าทานข้าวแล้ว หรือจำคำพูดขณะที่สนทนาไม่ได้ มักถามกลับซ้ำ ๆ 3. การแก้ไขปัญหาบกพร่องไป เช่น ยืนดูน้ำล้มอ่างเฉย ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี 4. การประกอบกิจกรรมต่าง…
-
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร? โรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นอาการที่เกิดจาก การสร้างและสะสมของสารที่ชื่อว่า เบต้าอะไมลอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายประสาทสมอง มีตัวเร่งที่เรียกว่าอะโปไลโปโปรตีนอี 4 เป็นตัวเร่งให้เบต้าอะไมลอยด์สะสม ทำให้สารสื่อประสาทในสมองลดลง เกิดความผิดปกติในด้านของความจำ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป มักเกิดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ที่เป็นสูญเสียสติปัญญาไปบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นในด้านความจำ ความรู้สึก ความคิด วิธีแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการใช้เหตุผล อาจทำให้ไม่สามารถทำงานหรือช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะแสดงอาการที่คนใกล้ชิดเห็นได้ชัดเจนก็คือ มักขี้หลงขี้ลืม บางทีก็เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน นึกคำพูดไม่ออก หรือใช้คำผิดทำให้คนอื่นไม่เข้าใจ หลงทาง แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ เก็บข้าวของผิดที่ อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไม่มีเหตุผล บุคลิกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หรือรู้สึกเฉื่อยชาไม่สนใจจะทำอะไรเลย การดูแลผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยญาติพี่น้องที่ใจเย็น และดูแลใกล้ชิดโดยการเตรียมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย พาผู้ป่วยได้ออกกำลังกายมากขึ้น หากิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยทำเพื่อฟื้นฟูสมอง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทานอาหาร สวมเสื้อผ้า อาบน้ำ ฯลฯ คอยระวังอันตรายจากกิจวัตรบางอย่าง เช่น การขับรถหรือทำอาหาร การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ด้วย เมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวเริ่มมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์นี้ ให้รีบพามาพบแพทย์จะได้ชะลอความรุนแรงของโรคได้ทัน…
-
ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ
ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ ระยะนี้คนไทยเราเริ่มหันมาสนใจการออกกำลังกายดูแลสุขภาพ และดูแลอาหารการกินกันมากขึ้นแล้วนะคะ การจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาร่างกายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังเช่นกันเล่นกีฬาก็จำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ให้กระทำอย่างสม่ำเสมอด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างมั่นคงนั่นเอง ผู้ที่เพิ่งหันมาออกกำลังกายใหม่ ๆ นั้น ควรเลือกออกกำลังกายในระดับเบาก่อน ยังไม่ควรหักโหมไปวิ่งทันที ควรเริ่มด้วยการเดินเบา ๆ หรือปั่นจักรยานช้า ๆ ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหากหักโหมอาจปวดข้อหรือได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ในช่วงเริ่มแรกควรค่อย ๆ ฟิตร่างกายให้ดีก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปออกกำลังกายที่หนักขึ้นจะช่วยถนอมกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกไปได้อีกทาง การเตรียมตัวก่อนการออกกำลังกาย ต้องเริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง และใช้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อวอร์มร่างกาย ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ด้วยก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน คุณอาจวิ่งเหยาะ ๆ อยู่กับที่เบา ๆ หรือเดินเบา ๆ ก่อนสัก 5-10 นาทีแล้วค่อยเดินเร็วหรือเริ่มวิ่ง ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายอีกอย่างก็คือจะกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้มากขึ้น ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้อีกทางหนึ่ง การออกกำลังกายควรเป็นกิจวัตรที่มีความสม่ำเสมอ และเป็นชนิดกีฬาที่ชื่นชอบด้วยจึงจะทำให้ไม่เบื่อ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรหักโหมจนเกินไป การจะวัดว่าเหนื่อยเกินไปหรือยังให้สังเกตว่ายังพูดเป็นคำได้อยู่หรือเปล่า หากเหนื่อยจนพูดไม่เป็นคำก็ถือว่าหักโหมเกินไปแล้ว ควรค่อย ๆ…
-
อะไรคือ….โรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด
อะไรคือ….โรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด เคยได้ยินชื่อโรคนี้กันบ้างหรือเปล่าคะ เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายด้วย “โรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด” นั่นเองค่ะ มักจะมีอาการปวดหรือชาบริเวณปลายมือ โดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางด้านที่อยู่ติดกับนิ้วกลาง พบในผู้ที่ใช้มือในการทำงาน เช่น แม่บ้าน ผู้หญิง คนที่ทำงานกับแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์ ช่วงเพิ่งคลอด ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือ รวมทั้งผู้ที่ทำงานด้วยข้อมือในท่าเดิมซ้ำซากด้วย อาการนี้สามารถเกิดได้ทั้งชั่วคราวและเรื้อรังจนทำลายเส้นประสาทได้ด้วย หากจะให้อธิบายสาเหตุของอาการก็จะเกิดจากการที่เส้นประสาทมือซึ่งเลี้ยงบริเวณนิ้วทั้งสี่ที่กล่าวมา เมื่อลงมาที่ข้อมือจะวิ่งผ่านช่องเล็กระหว่างกระดูกข้อมือกับแผ่นผังผืดที่อยู่ใต้กระดูกข้อมือ ในบางคนเส้นประสาทมือในบริเวณนี้อาจถุกบีบรัดเนื่องจากเยื่อหุ้มเอ็นที่อยู่ในช่องใต้กระดูกข้อมือบวม หรืออาจเกิดจากกระดูกข้อมือโตทำให้ช่องใต้กระดูกข้อมือแคบหรือแผ่นพังผืดเสื่อมและหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการปวดแสบร้อนหรือชาที่มือเป็นพัก บางรายอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ มักมีอาการตอนกลางคืนหรือเช้ามืด และระหว่างที่ใช้ข้อมือทำงานหนักในท่าเร็วๆ (เช่น ถูกบ้าน กวาดบ้าน พิมพ์งาน) ในส่วนของการรักษานั้นแพทย์จะรักษาตามความรุนแรง ถ้าเพิ่งเริ่มเป็นจะให้ผู้ป่วยพักการใช้ข้อมือแล้วใช้ความเย็นประคบ ทานยาต้านการอักเสบและใส่เฝือกที่มือเฉพาะเวลานอน บางคนอาจฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อมือข้างที่ปวด หากใช้วิธีดังกล่าวมาแล้วไม่ได้ผลหรือมีอาการรุนแรง ก็อาจจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเพื่อตัดเอาแผ่นพังผืดเหนียวให้คลายแรงบีบรัดลงก็จะบรรเทาอาการลงได้ ส่วนการป้องกันโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัดนี้ ทำได้โดยการฝึกการใช้มือให้ถูกต้อง เช่น หากจำเป็นต้องนั่งเขียนหนังสือนาน ๆ ควรใช้ปากกาขนาดใหญ่และมีหมึกที่ไหลลื่น หมั่นบริหารข้อมือด้วยการยืดขึ้นและงอลงเป็นระยะ ๆ หลีกเลี่ยงการทำงานด้วยการงอข้อมือเป็นเวลานาน ๆ ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องพิมพ์งานคอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็พยายามให้ยกข้อมือให้อยู่ในระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย ก็จะช่วยป้องกันอาการของโรคนี้ได้ค่ะ