Author: pure
-
ในมุมมองของแพทย์แผนจีน รังนกมีคุณค่าอย่างไรบ้าง?
ในมุมมองของแพทย์แผนจีน รังนกมีคุณค่าอย่างไรบ้าง? ในบรรดาอาหารอันทรงคุณค่าของคนจีนนั้น นอกจาก หูฉลาม อุ้มตีนหมี เห็ดเป๋าฮื้อแล้ว ก็ยังมี “รังนก” นี่ล่ะค่ะที่ยกย่องให้เป็นอาหารชั้นเลิศในการรักษา และบำรุงสุขภาพผู้ที่เจ็บป่วย อ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกำลัง เสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ ฯลฯ จึงทำให้รังนกเป็นนิยมในหมู่คนมีเงินมาก รวมไปถึงเวลาไปเยี่ยมเยียนคนป่วนก็มักซื้อรังนกไปฝากกัน แต่ในมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบันก็มีความแตกต่างกับแพทย์แผนจีน โดยแพทย์แผนจีนมองว่าการนำเอาสรรพคุณของรังนกหรือสมุนไพรต่าง ๆ มารักษาโรคนั้นไม่ได้ยึดเฉพาะส่วนประกอบของอาหารหรือสมุนไพรอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเอาธาตุร้อน เย็น รสชาติ และการเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ มาปรับสมดุลกลไกและสมดุลหยินหยางด้วย การแพทย์แผนจีนบอกไว้ว่าคนที่มีภาวะหยางพร่อง ร่างกายมีความเย็นมาก ท้องเสีย อาเจียน มีเสมหะมาก การย่อยไม่ดี มีของเสียตกค้างมากจนร่างกายมีความร้อน ฯลฯ เหล่านี้ไม่ควรกินรังนกเพราะโปรตีนจากรังนกเป็นโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ การกินครั้งละมาก ๆ จึงไม่มีประโยชน์เพราะดูดซึมไม่หมด ถือว่าสิ้นเปลือง คนที่พอมีเงินจึงควรกินแค่วันละน้อย ๆ แต่ให้กินอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรกินตอนท้องว่าง เพราะการดูดซึมในเวลาท้องว่างจะยังไม่ดีนัก ในส่วนของการซื้อรังนก ต้องพิจารณาจากสภาพร่างกาย และการเงินของคุณด้วย ควรเลือกซื้อรังนกที่ดีมีคุณภาพ และความจริงควรปรึกษาแพทย์แผนจีนที่มีความรู้น่าจะมีประโยชน์มากกว่าเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเต็มที่จากรังนกนะคะ
-
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด
—
by
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…
-
หลับใน.. ตายง่ายกว่าเมาแล้วขับ
หลับใน.. ตายง่ายกว่าเมาแล้วขับ เพราะปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายใดมาบังคับใช้ได้ว่า คนง่วงไม่สามารถขับรถได้ อุบัติเหตุจากการหลับในจึงยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ มากกว่าเมาแล้วขับเสียด้วยซ้ำไป ผู้ที่มีอาการหลับในนั้นนอกจากจะเกิดจาการอดนอนหรือนอนไม่พอแล้วยังเกิดจาก.. – ป่วยไข้ไม่สบาย กำลังกินยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้อยู่ อาจเสี่ยงต่อการหลับในขณะขับรถได้ อาการวูบหลับแค่ 3 วินาทีนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุร้างแรงที่ไม่คาดคิดได้ เพราะรถพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วอย่างปราศจากความควบคุม อาจประสานงากับรถคันอื่น เกยข้างทาง ชนต้นไม้หรือปีนเกาะไปชนกับอีกฝั่ง รวมไปถึงขับตกเหวได้เลยทีเดียว ฯลฯ คนที่อ่อนเพลียหรืออดนอนมักจะง่วงมากในตอนบ่าย หลังอาหารเที่ยง หรือหลังเที่ยงคืน ดังนั้นช่วงเวลาเหล่านี้จึงมีอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยครั้งที่สุด – เมาแล้วง่วง แล้วก็ขับรถอีก ก็อันตรายอย่างมาก เพราะประสาทสัมผัสทุกอย่างจะช้าลงไปหมด สมองตื้อทำให้การสั่งการไปยังอวัยวะต่าง ๆ ช้าลง หากเกิดภาวะคับขันทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาดได้ การขับรถทางไกลจึงควรเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องมึนเมาทั้งหลาย – ผู้ที่อ้วนน้ำหนักเกิน หรือนอนกรนจนหลับไม่สนิทก็ไม่ควรขับรถทางไกลคนเดียวโดยลำพัง หากมีคนนั่งไปด้วยควรชวนคุยเพื่อไม่ให้ง่วงหรือเปลี่ยนกันขับ หากเริ่มรู้สึกง่วงแล้วให้ลองผ้าเช็ดเช็ดหน้า เช็ดลำคอ หน้าอก หรือจิบน้ำเย็น ๆ หรืออมน้ำเข็งก็จะทำให้สดชื่นขึ้น ลองหาลูกอมรสชาติเปรี้ยว ๆ ซ่า ๆ หรือเผ็ด ๆ จัด ๆ อมไว้ก็ช่วยให้ตื่นตัวได้เช่นกัน…
-
เมาไม่ขับ ง่วงแวะพัก ดีกว่าขับแล้วเกิดอุบัติเหตุ
เมาไม่ขับ ง่วงแวะพัก ดีกว่าขับแล้วเกิดอุบัติเหตุ ทุก ๆ เทศกาลตลอดปีในประเทศไทย นอกจากความสุขสนุกสนานกับการท่องเที่ยวและความรื่นเริงในที่ต่าง ๆ แล้ว เรายังได้ยินข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุพ่วงมาด้วยเสมอ และมักจะทำลายสถิติมากขึ้นไปทุกปีด้วย บางรายที่ถือโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดในช่วงนี้ กลับไม่สามารถถึงบ้านได้เพราะโชเฟอร์คนขับดันเสพสุรา หรือขับทั้งที่ยังง่วง แทนที่จะได้ฉลองกันสนุกสนานก็กลายเป็นงานศพที่น่าเศร้าแทน หากเราเป็นผู้ที่ขับรถเองแล้ว ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งไม่ว่าจะไปเพื่อท่องเที่ยว เฉลิมฉลอง กลับบ้าน หรือไปทำบุญ ควรมีสติก่อนสตาร์ททุกครั้ง อย่าประสาท แม้คุณจะจิบแอลกอฮอล์ไปเพียงเล็กน้อย หรือรู้สึกง่วง นั่นก็เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณไม่พร้อมที่จะขับแล้วล่ะค่ะ เพราะอุบัติเหตุนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาเอาได้ เพียงเสี้ยววินาทีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคุณอาจพิการหรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว จริงอยู่ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่หากควบคุมตัวเองไม่ได้แล้วก็อาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยนะ จำไว้เลยว่าหากคุณดื่มเบียร์เกินสองกระป๋องเล็กแล้ว หรือพบมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50mg% แล้วก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแน่อน อาจถูกส่งฟ้องศาลต้องจำคุกหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 5,000-20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมไปถึงอาจต้องทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ และถูกพักใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 เดือน ดังนั้นสรุปว่าการไม่ดื่มเสียเลยหรือดื่มแต่ไม่ขับเลยจะดีที่สุด ในส่วนของผู้ที่มีร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย หรืออดนอนก็เช่นเดียวกัน คุณอาจงีบหลับหรือหลับในขณะขับรถไปโดยไม่รู้ตัว อันตรายต่อผู้ขับขี่และคนอื่นได้ง่าย ๆ หากรู้สึกง่วงให้แวะงีบในที่ปลอดภัยจะดีกว่า อุบัติเหตุนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของเวรกรรม แต่เป็นผลของการกระทำของทุกคนในสังคม ดังนั้นจึงต้องตระหนักในการตัดสินใจของตัวเองให้มาก หากดื่มไม่ควรขับ หากง่วงก็ไม่ควรขับเช่นกัน การขับขี่เพื่อการท่องเที่ยวหรือกลับบ้านของคุณก็จะปลอดภัยไร้กังวลค่ะ…
-
ดูแลกายใจ ชาร์จแบตเตอรี่ในช่วงวันหยุด
ดูแลกายใจ ชาร์จแบตเตอรี่ในช่วงวันหยุด จากที่เราต้องตรากตรำทำงานหนัก เพลียทั้งร่างกาย อ่อนล้าทั้งจิตใจกันมาแล้ว ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายครอบครัวจึงเลือกเดินทางไปพักผ่อนต่างจังหวัด หรือในรีสอร์ทไกล ๆ เพื่อพักผ่อนกายใจ ก่อนจะกลับมาผจญกับหน้าที่การงานอีกครั้งหนึ่ง แต่หากคุณไม่รู้สึกอยากเดินทางไปไหน แต่อยากพักผ่อนจิตใจแบบสบาย ๆ เพื่อหาความสุขบ้าง ลองดูวิธีการง่าย ๆ เหล่านี้นะคะ – สัมผัสอากาศดี ๆ และธรรมชาติสดชื่น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวะหรอก ในสวนสาธารณะหรือสวนในหมู่บ้านก็ได้ ด้วยการตื่นเช้าไปดูพระอาทิตย์ขึ้น เดินเล่นหรือปั่นจักรยานริมแม่น้ำ ดูดอกไม้ ชมดอกหญ้า ฟังเสียงนกร้อง ดูดซับพลังจากธรรมชาติเข้าสู่ตัวเอง กระตุ้นอารมณ์ให้ดี ทำให้ชีวิตมีแรงบันดาลใจ – ทำจิตใจให้สงบ ตื่นเช้า ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ ใส่บาตร ฝึกชี่กง ฝึกโยคะ หรือนวดตัวเองอย่างน้อยวันละ 10 นาที การมีสติอยู่เงียบ ๆ ด้วยการทำใจให้สงบ ช่วยให้เราไตร่ตรองชีวิตได้ดีขึ้น และใคร่ครวญหาวิธีแก้ไขสิ่งที่เรากำลังทำได้อย่างราบรื่น – คิดบวก ๆ เข้าไว้ ไม่ตัดสินผู้อื่นและตัวเอง การตัดสินบั่นทอนพลังในตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว ทำลายจุดมุ่งหมายการพัฒนาตัวเองไป…
-
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนขับรถในช่วงเทศกาล
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนขับรถในช่วงเทศกาล ในช่วงเทศกาลของประเทศไทยนั้น มักจะมีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวัน ผู้คนจึงมักใช้โอกาสนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือกลับบ้านกลับช่องกันมากมาย มักเป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุทางจราจรบ่อยด้วย ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สินหรือด้านจิตใจที่ประเมินค่ามิได้ ดังนั้นเพื่อสวัสดิภาพในการขับขี่รถในช่วงเทศกลาง จึงมีคำแนะนำเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการขับขี่รถดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ดูแลสุขภาพและความพร้อมของร่างกายและจิตใจ ไม่ควรขับรถทั้งที่เจ็บป่วย อ่อนเพลีย ง่วงนอน ตามองไม่ชัด หูตึง มึนเมายาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ รวมไปถึงต้องมีสภาพจิตใจที่เป็นปกติ อารมณ์ไม่ขุ่นมัวหรือวิตกกังวล เครียด เศร้าหมองด้วย 2. มีความพร้อมในการขับขี่ มีความชำนาญ รับรู้และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด แก้ไขสถานกาณ์ที่คับขันได้ดี รับผิดชอบต่อสังคม สวมหมวกกันน๊อกและคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง 3. ตรวจสภาพความพร้อมของรถ หมั่นตรวจสอบสภาพและแก้ไขข้อบกพร่องของรถให้อยู่ในสภาพความพร้อมเสมอ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็น เบรก แตร กระจกส่องหลัง กระจกข้าง ไฟสัญญาณต่าง ๆ 4. เรียนรู้เส้นทางและสภาพแวดล้อมของเส้นทาง หากไม่คุ้นเคยควรสอบถามกับผู้รู้หรือหน่วยงานใกล้เคียง จะได้ไม่หลงทางหรือสับสนเส้นทางขณะขับขี่ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับเทศกาลหยุดยาว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และกลับถึงที่พักอย่างปลอดภัยทุกท่านนะคะ
-
วิ่งเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
วิ่งเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หนึ่งในกีฬาที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดก็คือ การวิ่งนั่นเองค่ะ เราแทบทุกคนที่มีขาและมีสุขภาพที่ดีพอล้วนแล้วแต่ต้องวิ่งทั้งนั้น แต่เราจะวิ่งอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพกันล่ะ สำหรับนักวิ่งหน้าใหม่นั้นมีสิ่งที่ควรเรียนรู้อยู่สามประการก็คือ – ต้องรู้จักวางแผนสุขภาพ เพื่อถนอมกำลังให้วิ่งได้ครบตามระยะทางที่กำหนด – ต้องรู้จักประมาณความเร็วที่จะใช้วิ่ง – ต้องมีความอดทนในการวิ่งให้ครบระยะทาง ในช่วงแรก ๆ ของการหัดวิ่งนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนจะสนุกหรือมีความสุขกับการวิ่งเสมอไป เพราะแรกๆ ที่หัดวิ่งอาจจะเหนื่อยมากจนท้อก็ได้ เป็นเพราะก่อนหน้านั้นสังขารไม่ฟิตมากพอ เมื่อเริ่มลงมาวิ่งเลยก็เหนื่อยจนไม่อยากวิ่งอีก แต่ก็อย่าเพิ่งท้อใจไป คนเราสามารถฝึกหัดกันได้ทั้งนั้น ในช่วงแรกหากคุณยังไม่สามารถวิ่งเต็มระยะทางได้ทั้งหมดก็สามารถ วิ่งสลับเดินไปก็ยังได้ แล้วค่อย ๆ เพิ่มการวิ่งให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนสามารถวิ่งได้ตลอดเส้นทางนั้นเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดของการวิ่งก็คือความปลอดภัย ดังนั้นจึงควรประเมินศักยภาพของร่างกายเราเสียก่อน เช็คสภาพความพร้อมของตัวเอง ระดับของความแข็งแรงของร่างกาย และผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วนั้นก็ควรได้รับการอนุญาติจากแพทย์เจ้าของไข้เสียก่อน หัวใจสำหรับของการวิ่งเพื่อความฟิตที่ทุกคนควรจดจำเอาไว้ก็คือ วิ่งให้เหมือนเป็นกิจวัตรประจำวัน วิ่งให้เหมือนเราตื่นเช้ามาต้องแปรงฟัน อาบน้ำ กินข้าวนั่นแหล่ะค่ะ วิ่งไปเรื่อย ๆ วิ่งช้า นาน ๆ วิ่งไกล ๆ หรืออย่างที่อดีตนักกีฬาวิ่งมาราธอนโอลิมปิกของโลกได้กล่าวได้ว่า Long-Slow-Distance หรือ วิ่งนานๆ-วิ่งช้า ๆ –วิ่งไกล ๆ นั่นเองค่ะ
-
ปาร์ตี้ยังไง สบายใจไม่เสียสุขภาพ
ปาร์ตี้ยังไง สบายใจไม่เสียสุขภาพ ประเทศไทยมีวันหยุดยาวหลายช่วงของปี ไม่ว่าจะเป็นปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ และวันหยุดยาวต่อเนื่องหลาย ๆ จังหวะตลอดทั้งปี บางคนก็อาศัยช่วงเวลานี้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัด หรืออาจหยุดอยู่กับบ้านกินเลี้ยงกับเพื่อนกับครอบครัว งานปาร์ตี้กินเลี้ยงเหล่านี้หากเผลอตัวเผลอใจกินมากเกินไปก็อาจทำให้ร่างกายมีปัญหาสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นของทอดของมันที่อาจทำให้อ้วน หรือเหล้า เบียร์ต่าง ๆ ที่อาจบั่นทอนสุขภาพ วันนี้ค่ะจะเอาคำแนะนำการกินเลี้ยงอย่างไร ให้คุณสบายใจไม่มีปัญหาสุขภาพในภายหลังมาฝากกันค่ะ 1. ปาร์ตี้ปิ้งย่างทั้งหลายแหล่ หากต้องเลือกเนื้อสัตว์ ก็ควรเน้นที่เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ที่ย่อยได้ง่าย แถมยังมีไขมันน้อย จึงเป็นผลต่อสุขภาพมากกว่าเนื้อแดงทั้งหลาย หากเลือกทานอาหารทะเลก็ให้ระวังคอเลสเตอรอลไว้ด้วย นอกจากนั้นควรมีเครื่องเคียงเป็นผักให้มาก ๆ เพื่อสุขภาพค่ะ 2. ควรเลือกใช้วิธีลวกจิ้ม หรือนึ่งต้ม แทนการปิ้ง ย่าง หรือทอด เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันและอนุมูลอิสระทั้งหลายที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง 3. เลี่ยงเหล้าเบียร์ ไวน์ น้ำอัดลม น้ำหวานจัด เพราะให้พลังงานมากและใช้เวลาในการเผาผลาญนาน นอกจากนี้เหล้าเบียร์ทั้งหลายยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถกลับบ้านได้อีกด้วย 4. ขณะทานอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียดแล้วทานช้า ๆ เพื่อไม่ให้ระบบการย่อยทำงานหนักเกินไป อีกอย่างก็คือการกินเร็วยังทำให้กินมากเกินพอดีอีกด้วย 5. หลังทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพราะอาจเกิดโรคกรดไหลย้อน ควรนั่งพักให้ย่อยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงหรือไปเดินเล่นเบา…
-
ชะลอวัยชรา…ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ
ชะลอวัยชรา…ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ แม้อายุจะล่วงเข้าสู่วัยไม้ใกล้ฝั่งแล้ว สังขารในร่างกายก็เริ่มร่วงโรยไปเป็นเรื่องธรรมดา หากแต่เราทะนุถนอมร่างกายก็สามารถยืดการเสื่อมของสังขารออกไปได้เช่นกัน การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอวัยชรานี้จึงเป็นเรื่องสำคัญแต่สามารถทำได้ง่ายแบบไม่พึ่งหมอเลยดังนี้ค่ะ – ดูแลน้ำหนักให้เหมาะสม การปล่อยตัวให้อ้วนน้ำหนักเกินจะเป็นภาระต่ออวัยวะส่งต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจตลอดจนโรคมะเร็ง การลดความอ้วนสำหรับวัยชราคือการจำกัดแคลอรี่ให้เหมาะสม กินข้าวซ้อมมือ ทานปลาหรือถั่ว ทานเนื้อแดงให้น้อยลง ทานธัญพืชและถั่วให้มาก ทานผักเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ซึ่งมีสารต้านความชรา ทำให้ไม่อ้วน ไม่เจ็บป่วย ไม่เกิดโรค หลีกเลี่ยงอาหาร หวาน มันเค็ม ทั้งหลายด้วย – ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่ให้พอดีกับสังขาย อย่างน้อยวันเว้นวัน ใช้เวลาวันละครึ่งชั่วโมงเป็นต้นไป จะทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เบาตัว หายใจสบายขึ้น ไม่เบื่ออาหาร นอนหลับได้สนิทและดีขึ้น ร่างกายซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ได้ดี สดชื่น สมองปลอดโปร่งแจ่มใส ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอย่างเห็นได้ชัด – ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แจ่มใจ…
-
วิธีดูแลร่างกายตัวเองในฤดูหนาวหรืออากาศเย็น
วิธีดูแลร่างกายตัวเองในฤดูหนาวหรืออากาศเย็น สำหรับประเทศไทยแล้ว อากาศเย็น ๆ หรือช่วงหน้าหนาวมักจะเป็นฤดูที่โปรดปรานของใครหลายคนนะคะ เพราะทั้งปีนั้นมีแต่อากาศร้อน ๆ และฝนตกแฉะ ชวนให้เหนียวเหนอะหนะร่างกายมาตลอดทั้งปี หน้าหนาวยังทำให้เราได้ไปเที่ยวดอย เที่ยวภูเขาที่อากาศหนาว ได้ใส่เสื้อผ้าสวย ๆ อย่างมีความสุขด้วย แต่แม้อากาศหนาวจะเป็นที่ชื่นชอบเท่าไร การดูแลตัวเองในระยะนี้ก็ต้องมากเป็นพิเศษเช่นกัน เพราะอุณหภูมิที่ลดต่ำลงอาจทำให้เป็นหวัดหรือป่วยด้วยโรคอื่นได้ง่าย ดังนั้นหากอยากหนาวอย่างสนุก ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงดังนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ครบถ้วนและมีประโยชน์ ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะอากาศแห้ง ออกกำลังกายให้ร่างกายขับเหงื่ออบอุ่นอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ตรากตรำทำงานมากเกินไป 2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สุรา หรือเสพยาเสพติดอื่น ๆ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย 3. ในฤดูหนาวที่เรามักอยู่ในห้องนอนนาน ๆ เพราะสว่างช้า ควรจัดห้องนอนให้สะอาด ซักผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนให้สะอาด นำมาผึ่งแดดบ่อย ๆ ในช่วงกลางวันควรเปิดประตูห้องเพื่อระบายอากาศให้แสงแดดได้ผ่านเข้ามาในห้อง ลดการหมักหมมของเชื้อโรคด้วย 4. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเข้าไว้ หากหนาวมากควรสวมถุงมือ ถุงเท้า และหมวกไหมพรม เพื่อความอบอุ่นโดยเฉพาะในเด็กและคนชรา 5. หากอากาศแห้งมาก การอาบน้ำตอนเข้าอาจฟอกสบู่แค่บางจุดก็พอ มิเช่นนั้นอาจทำให้ผิวแห้งมากเกินไป…