Author: pure
-
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย บทความวันนี้ตอบข้อสงสัยของใครหลายคนที่ติดรสชาติเค็มกันอยู่นะคะ ที่มักจะถามว่ากินเค็มมากจะเป็นโรคไตไหม คำตอบจากหมอก็คือคนทั่วที่กินเค็มมากไปนิดหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ไตยังขับเกลือออกได้ แต่หากมีอาการของไตเสื่อมแล้วก็ไม่ควรกินเค็ม ไม่ใช่แค่นี้ แต่คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ไม่ควรกินเค็มด้วยเหมือนกัน การควบคุมอาหารเค็มสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น ควรทำอาหารทานเอง หรือบอกแม่ครัวร้านอาหารให้งดเกลือ งดน้ำปลา ตัวผู้ป่วยเองเวลาไปทานอาหารก็ต้องงดการเติมน้ำปลา หรือเครื่องปรุงเวลาทานก๋วยเตี๋ยวด้วย และควรทานแบบแห้งเท่านั้น เพราะในน้ำซุปก๊วยเตี๋ยวก็มีเกลืออยู่มากเช่นกัน ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือผสมอยู่มาก หากท่านตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคไตเสื่อมอยู่แล้ว ต้องการระมัดระวังการกินอาหาร ควรวางแผนและจัดการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สอบถามแพทย์ผู้รักษาว่าท่านเป็นโรคไตในระดับใดแล้ว สามารถกินอะไรได้บ้าง แล้วมากน้อยขนาดไหน? 2. ควรรู้ไว้ว่าการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ กินน้อยไปจะทำให้ขาดอาหาร และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก 3. การกินเค็มจะทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจวายได้ 4. ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินผักได้เท่าที่ต้องการ ยกเว้นหมอห้าม 5. แต่สำหรับผลไม้ อาจต้องจำกัดในรายที่มีอาการไตเสื่อมมาก 6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ยกเว้นหมอสั่งให้ทาน 7. ดื่มน้ำน้อยทำให้ไตเสื่อม แต่ดื่มน้ำมากทำให้หัวใจวาย ต้องกะปริมาณให้พอดีโดยถามหมอ 8. ไม่ควรทานอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง…
-
ระวังโรค มือ เท้า ปาก ระบาดในเด็กเล็ก
ระวังโรค มือ เท้า ปาก ระบาดในเด็กเล็ก โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไว้รัสพบได้เฉพาะในมนุษย์เท่านั้น มีหลายสายพันธุ์พบได้มากในเด็กทารกและเด็กเล้ก ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเป็นระยะเวลา 3-5 วันแล้วก็จะหายได้เอง แต่ก็มีบางรายที่มีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส โดยนี้สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการ รวมไปถึงสัมผัสกับกับตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย การแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นได้ง่ายในอาทิตย์แรก แต่ไม่พบว่ามีหลักฐานยืนยันว่าเชื้อได้แพร่กระจายจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะตามที่เคยเป็นข่าวแต่อย่างใด ระยะติดต่อของโรค อาจเริ่มตั้งแต่มีอาการและอาจยาวนานหลายสัปดาห์ โดยปกติจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-5 วัน อาการก็คือ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 2 วัน และมีไข้ต่ำ ๆ อีก 3-5 วัน เจ็บปาก กลืนน้ำตาลไม่ได้ ไม่กินอาหาร มีตุ่มแผลในปากพบได้ที่เพดานอ่อน ลิ้น กระพุ้งแก้ว ทำให้เด็กไม่ยอมดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ มีน้ำตาลไหล มีตุ่มพองสีขาวขุน่นบนฐานรอบสีแดงขนาดประมาณ 3-7 มม. บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า เวลากดจะเจ็บ…
-
สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน
สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน ต้อหิน เป็นสาเหตุใหญ่ของการตาบอดของคนในโลกนี้รวมทั้งประเทศไทยด้วย มักพบได้บ่อยในผู้ทีมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นต้อหินในครอบคัว สายตาสั้นหรือสายตายาวมากผิดปกติ เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีประวัติใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน หรือเคยประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นต้อหินสูงขึ้น อาการของโรคต้อหิน จะเริ่มจากการสูญเสียการมองเห็นของลานสายตารอบนอกก่อน เมื่อโรครุนแรงขึ้น ลานสายตาจะแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุของการเกิดต้อหิน แบ่งออกได้ดังนี้ 1. ต้อหินแบบมุมเปิด พบได้มากโดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เกิดการสูญเสียการมองเห็นจากรอบนอกลานสายตาและค่อย ๆ ลามเข้ามาตรงกลางจนมืดในที่สุด 2. ต้อหินแต่กำเนิด พบได้ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอาย 3 ขวบ เกิดจากระบบระบายน้ำในลูกตาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ 3. ต้อหินแบบมุมปิดเฉียบพลัน พบมากในคนเอเชียเกิดจากการมีการอุดตันของทางระบายน้ำทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปวดตาและหัวคิ้วอย่างรุนแรง ตาแดง การมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียนด้วย ต้อหินกลุ่มนี้ต้องรักษาอย่างทันทีเพื่อลดอาการและป้องกันอาการตาบอด ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงข้ามวัน หากไม่ได้รับการลดความดันลูกตา 4. ต้อหินจากสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน อุบัติเหตุ การอุดตันของการระบายน้ำในลูกตาทำให้ความดันตาขึ้น อาจค่อยเป็นค่อยไปหรือเฉียบพลันก็ได้ การตรวจต้อหินนั้นทำได้ด้วยการตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดันลูกตา ตรวจลานสายตาและดูลักษณะของทางระบายน้ำในลูกตา…
-
ภาวะต้อกระจกและการรักษา
ภาวะต้อกระจกและการรักษา ต้อกระจก นี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุอับดับต้น ๆ ของภาวะสายตาพิการในคนชราด้วย โดยอาการของต้อกระจกจะเป็นภาวะที่แก้วตาหรือเลนสด์ตามีลักษณะขุ่นขาว มัวลง ทึบแทบ ไม่ยอมให้แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาไปกระทบจอตา จึงทำให้สายตาฝ้าฟางและมองไม่เห็นได้ในที่สุด สาเหตุของโรคนี้นั้นส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัย ส่วนใหญ่ผู้ที่อายุเกิด 60 ปีแล้วก็มักจะเป็นทุกราย แต่มีบางรายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นมาแต่กำเนิดพบได้ในทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด หรือการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ตาอยางรุนแรง มีความผิดปกติของตา หรือเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ หรือกินสเตียรอยด์เข้าไปนาน ๆ การกินยาลดความอ้วนบางชนิด เกิดจากการถูกรังสีที่ตาเป็นเวลานาน รวมไปถึงการถูกแสงแดดหรือแสงยูวีก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด ก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาการของต้อกระจกนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อย ๆ มัวลง แรก ๆ จะเหมือนหมอกบัง มองที่มืดชัดกว่าที่สว่าง หรือถูกแสงสว่างตาจะพร่ามัว สู้แสงไม่ไหว เห็นภาพซ้อน ไม่เจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด อาการตามัวจะแสดงอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ กินเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี จนแก้วตาขุ่นขาวหมด (ต้มสุก) ก็จะมองไม่เห็น ต้อกระจกนี้คนชรามักจะมีอาการทั้งสองข้าง แต่จะสุกไม่พร้อมกัน ระยะแรกแก้วตาจะขุ่นบริเวณตรงกลาง มองในมืดรูม่านตาจะขยายเปิดทางใหแสงผ่านเข้าแก้วตาส่วนรอบนอกที่ยังใสจึงทำให้เห็นภาพได้ชัด แต่เมื่อมองในที่สว่างรูม่านตาจะหดเล็กลง แสงจะผ่อนเฉพาะแก้วตาส่วนกลางจึงทำให้ภาพพร่ามัว การรักษาโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตา หรือใช้วิธีสลายต้อด้วยคลื่นความถี่สูง…
-
รู้จักกับ…โรคอัมพาตบนใบหน้า
รู้จักกับ…โรคอัมพาตบนใบหน้า โรคอัมพาตบนใบหน้านี้นั้น มีสาเหตุมาจากเส้นประสาทที่คู่ที่ 7 ที่เลี้ยงใบหน้า ไม่ทำงานชั่วคราว กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าจึงขยับเขยื้อนไม่ได้ครึ่งซีก เกิดเป็นอัมพาต เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาท หรือเกิดจากอาหารที่มาหล่อเลี้ยงเส้นประสาทคู่นี้ลดลง จึงเกิดการเกร็งตัวของหลอดเลือด ทั้งอาการขาดเลือดและขาดอาหารจึงทำให้เกิดการอักเสบบวมของเส้นประสาทได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ 7 นั้นยังไม่ทราบแน่นอน สันนิษฐานว่าเกิดจากปัจจัยกระตุ้นเช่น บางคนเกิดหลังจากตากลม หรือกระทบความเย็น บางคนเคยได้รับการผ่าตัดใบหน้ามาก่อน บางคนก็พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียด มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หรือมีการอักเสบบริเวณใบหูอยู่ รวมไปถึงการติดเชื้อไวรัสจำพวก เชื้อเริม งูสวัด อีสุกอีกใส เหล่านี้ทำให้เกิดโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย อาการของโรคนั้น มักจะเกิดอย่างเฉียบพลัน ตื่นมาก็เห็นปากเบี้ยวไปข้างหนึ่ง เวลากลืนน้ำหรือบ้วนปากจะมีน้ำไหลที่มุมปาก ยิ้มหรือยิงฟันแล้วมุมปากตก ตาปิดไม่สนิท ยักคิ้วไม่ขึ้น ลิ้นชาและรับรสไม่ได้ข้างเดียว บางรายอาจมีอาการปวดหู และหูอื้อ แต่ผู้ป่วยก็มีความรู้สึกตัวดี แขนขามีแรงปากติ ผู้ป่วยมักอาการปวดใบหน้าหรือปวดหลังหูข้างนั้นก่อนที่เป็นอัมพาตประมาณ 2-3 วัน ในด้านของการรักษาเพื่อให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว แพทย์จะใช้ยาสเตียรอยด์ ยาเม็ดชื่อ เพร็ดนิโซโลนในขนาดที่สูง การให้ยานี้ในช่วงเวลา 4 วันแรกเชื่อว่าจะทำให้อาการอัมพาตหายได้เร็วขึ้น แต่หากเป็นการให้ยาในระยะท้ายแล้ว 4-7 วันอาจได้ผลไม่แน่นอน ส่วนยาต้านไวรัสยังเป็นความเชื้อทางทฤษฎีเพราะถ้าใช้ยาเพียงตัวเดียวยังไม่ได้ผลชัดเจนเมื่อเทียบกับสเตียรอยด์ โรคอัมพาตใบหน้านี้จะมีอาการดีขึ้น…
-
ปัญหาโรคตาในเด็ก
ปัญหาโรคตาในเด็ก การดูแลปัญหาสุขภาพตาของเด็กมีความสำคัญมาก เพราะหากละเลยหรือไม่สนใจอาจส่งผลร้ายต่อเด็กได้ โดยโรคตาที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ – โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่เกิดก่อนกำหนด อาจทำให้เกิดความผิดปกติของจอประสาทตา เกิดปัญหาจอประสาทตาหลุดลอก ทำให้เด็กตาบอดถาวรได้ ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาเพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติ จะได้รับการรักษาทันท่วงที ควรรีบพาเด็กไปพบจักษุแพทย์อย่างช้าเมื่อทารกยังมีอายุไม่เกิน 4 สัปดาห์ – ท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิด พบได้มากถึงร้อยละ 15 ของเด็กแรกเกิด เด็กจะมีอาการตาแฉะหรือมีน้ำตาลไหล เมื่อกดเบา ๆ บริเวณข้างจมูกหัวตาจะมีของเหลวเหนียวไหลออกมาเป็นหนองจากรูน้ำตา อาการมักหายเอวได้ภายในอายุ 6 เดือนถึง 12 เดือน การดูแลหากเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ควรใช้การนวดหัวตาโดยนวดไล่จากหัวตามาถึงข้างจมูกวันละหลาย ๆ ครั้ง ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะหบอดตา แต่หากเด็กอายุมากกว่าหนึ่งขวบแล้ว ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษา สิ่งที่ควระวังอาการน้ำตาไหลในเด็กอาจเป็นอาการของโรคต้อหินแต่กำเนิด ควรสังเกตลูกตาของเด็กหากใหญ่ผิดปกติ และคลำลูกตาผ่านเปลือกตาแล้วรู้สึกว่าตาข้างนั้นแข็งกว่าอีกข้าง ควรปรึกษาจักษุแพทย์โดยด่วน – โรคตาเข อาจมีอาการตาเขเข้าในหรือเขออกนอก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแนวทางการรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วย หากเกิดร่วมกับสายตาที่ผิดปกติก็มักจะรักษาด้วยการสวมแว่น ส่วนสาเหตุอื่นก็อาจมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไข แต่ตาเขก็อาจเป็นอาการแสดงของโรคมะเร็งจอประสาทตาได้ การเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ก็จะตรวจทั้งอาการตาเข สายตาขี้เกียจ และมะเร็งจอประสาทตาไปด้วยพร้อมกันในเด็กที่อายุต่ำกว่าสามขวบ – ตากุ้งยิง…
-
ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส
ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากไวรัส นั้นส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1-2 อาทิตย์ จะมีก็ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอะดีโน และกลุ่มเชื้อไวรัสพิคอร์นา ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสกับของใช้อื่น ๆ ที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา แก้วน้ำ จานชามช้อน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หมอน เครื่องนอน สบู่ ขันน้ำ ลูกบิดประตู มือจับตู้เย็น โทรศัพท์ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการเล่นน้ำในสระที่มีเชื้อปนเปื้อนจากผู้ป่วยที่ลงเล่นน้ำ รวมไปถึงการติดต่อจากผู้ป่วยที่มีอาการไอ เจ็บคอ มาจามรดหน้าหรือสัมผัสกับน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย มีระยะฟักตัวประมาณ 5-12 วัน แต่มีบางชนิดที่ทำให้เยื่อตาขาวอักเสบมีเลือดออกใต้ตา จะมีระยะฟักตัวแค่ 1-2 วันเท่านั้น อาการนั้นก็จะมีอาการตาแดง เคืองตาเหมือนมีผงเข้าตา กลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตาสีขาว หนังตาบวม บางรายอาจมีตาแดงเป็นปื้นเพราะเลือดออกที่ใต้ตาขาว บางรายมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัวเหมือนเป็นไข้ โดยจะเริ่มมีอาการที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามมาอีกข้างภายใน 2-3 วัน ส่วนมากอาการจะทุเลาในไม่กี่วันและหายได้เองใน 1-2 วัน ในส่วนของการดูแลตัวเองควรปฏิบัติตัวดังนี้ – ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าตรากตรำทำงานหนัก…
-
ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม
ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม ในระยะหน้าฝนและระยะที่มีน้ำท่วมนี้ อาจมีเชื้อโรคที่ทำให้ดวงตาติดเชื้อได้ จึงเป็นระยะที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื้อโรคเหล่านี้จะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำที่ท่วมเอ่อขึ้นมา หากไม่อยากติดเชื้อควรทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้ 1. สังเกตความผิดปกติของดวงตา ไม่ว่าจะเป็นตาแดง ระคายเคือง ปวดรอบดวงตา แพ้แสง หรือแสบตา การมองเห็นลดลงหรือมัวลง น้ำตาไหลหรือมีขี้ตาผิดปกติ เหล่านี้ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อการรักษาอย่างเร็วที่สุด 2. ไม่ควรซื้อยาหลอดตามารักษาเองในกรณีที่ดวงตาติดเชื้อ ยาหยอดตาไม่สามารถรักษาโรคตาได้ทุกชนิด บางครั้งอาจเกิดผลเสียและผลข้างเคียงของยาหลอดตาบางชนิดด้วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่า 3. หากมีน้ำสกปรกกระเด็นเข้าดวงตาด้วยล้างตาด้วยน้ำสะอาด เช่นน้ำยาล้างตา หรือน้ำยาล้างคอนแทกเลนส์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ควรใช้น้ำประปาล้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำประปาในพื้นที่ที่มีปัญหาของคุณภาพน้ำ 4. ทุกคนสามารถมีปัญหาโรคตาติดเชื้อได้ทุกคน พบมากในกลุ่มที่สวมคอนแทคเลนส์ หรือผู้ทีผ่านการผ่าตัดดวงตา ไม่ว่าจะเป็น การทำเลสิก การผ่าตัดต้อ ฯลฯ เหล่านี้ควรระวังเป็นพิเศษ 5. ผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติของดวงตา ควรมีแว่นตาสำรองไว้เสมอในกรณีที่อาจไม่สะดวกในการสวมคอนแทคเลนส์ 6. สำหรับผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่ท่วม หรือหากเลี่ยงไม่ได้ควรหยุดการสวมใส่คอนแทคเลนส์ไปก่อน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นป้องกันน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ไม่ควรใช้น้ำประปาในการล้างหรือเก็บคอนแทคเลนส์ ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสดวงตาและคอนแทคเลนส์ ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อคอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ รวมไปถึงยาหยอดตาต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีการสวมใส่และทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธีก่อนซื้อหามาใช้ด้วยนะคะ
-
ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ
ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอากาศในเมืองใหญ่หรืออากาศตามต่างจังหวัด ในบางช่วงของปีก็มักมีปัญหาของหมอกควันและฝุ่นละอองหนาแน่นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกันได้ทั้งนั้น โดยหากมีหมอกควันและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน อาจทำให้เกิดอาการแสบตา ตาแดง คันตา น้ำมูกหรือน้ำตาไหลได้ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ โรคปอด หอบหืด ผู้ป่วยโรคหัวใจ หมอกควันเหล่านี้ก็อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้กลุ่มที่น่าเป็นห่วงได้แก่ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ก็อาจเจ็บป่วยไม่สบายได้ง่ายขึ้นด้วย โดยมักมีอาการของหวัด คออักเสบ เจ็บคอ ไอ จาม เป็นต้น หากคุณผู้อ่านอยู่ในพื้นที่มีปัญหาหมอกควันหนาแน่น ควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – กลุ่มที่มีโรคประจำตัวและเจ็บป่วยง่าย ควรอยู่แต่ในอาคารบ้านเรือนและปิดประตูหน้าต่างมิให้ควันไฟเข้าไปในอาคารได้ – ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือจะพรมน้ำหมาก ๆ ช่วยด้วยก็จะช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น – บ้านที่ติดแอร์คอนดิชั่น ควรถอดแผ่นกรองอากาศมาทำความสะอาดให้บ่อยขึ้น – ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หากช่วงใดที่สภาพอากาศมีหมอกควันฝุ่นละออกมาก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่แจ้ง และที่สำคัญที่สุดก็คือทุกคนร่วมใส่ใจกับชุมชนและสังคมร่วมกัน ไม่ควรเผาขยะหรือเผาวัตถุใด ๆ ก็ตาม ที่จะทำให้เกิดควันพิษสร้างปัญหาให้กับชุมชน เพื่อสุขภาพของตัวเราเองและคนที่เรารักทุกคนนะคะ
-
ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม
ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบว่าคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐานนั้น มักจะเข่าเสื่อมง่ายกว่าคนทั่วไป เกิดความเจ็บปวดหรือเมื่อยขัดบริเวณเข่าทุกย่างก้าว มีความรู้สึกเมื่อยขัด หรือตึงบริเวณน่องและข้อพับเข่า เคลื่อนไหวข้อได้ไม่เต็มที่ มีเสียงดังออกมาจากข้อ เข่าบวม มีน้ำในข้อ หรือเข้อเข่าคดผิดรูป รวมไปถึงเข่าโก่ง ฯลฯ อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นและเป็น ๆ หาย ๆ ยิ่งเข่าเสื่อมาก็จะยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น จนกระทั่งปวดตลอดเวลา การรักษานั้นก็สามารถได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพลำบัด การกินยาแก้ปวด แก้อักเสบ การผ่าตัดจัดแนวกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เราควรป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเอง ด้วยการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันดังต่อไปนี้ค่ะ – อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เพราะเวลาเราเดินเข่าจะรับน้ำหนักมากว่าน้ำหนักถึว 3 เท่า ยิ่งหากเป็นการวิ่งด้วยแล้ว เข่าจะรับน้ำหนักมากถึง 5 เท่า ถ้าลดน้ำหนักได้ก็จะลดภาระเข่าลงไปได้มาก เข่าก็จะเสื่อมช้าลงไปด้วย – ไม่ควรนั่งบนพื้น นั่งขัดสมาธิ คุกเข่าหรือนั่งยอง รวมทั้งการนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งเหล่านี้จะทำให้ผิวข้อเสียดสีกันทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีความสูงระดับเข่าดีกว่า – เข้าห้องน้ำที่มีโถนั่งแบบชักโครก ไม่ควรนั่งยองเพราะจะทำให้ข้อเข่าเสียสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับทำให้เลือดไปเลี้ยงขาน้อย ขาชาอ่อนแรงได้ –…