Author: pure
-
เชื่อได้หรือไม่..ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ไม่ใช่ยารักษาโรค
เชื่อได้หรือไม่..ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ไม่ใช่ยารักษาโรค คุณผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยได้ยินข้อความโฆษณาขายอาหารเสริมกันมามากมายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “สุขภาพดีขึ้น ลดความอ้วน ลดน้ำตาล เพื่อคุณและคนที่คุณรัก ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการอนุญาตจาก อย. ปลอดภัย ไม่ใช่ยา คิดค้นโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก แล้วซื้อเลยวันนี้…” หรืออะไรอื่นอีกมากมายบรรยายไม่หมด จนบางครั้งก็อาจทำให้ท่านสนใจหรือเคยหลงเชื่อมาบ้างแล้ว บางยี่ห้อก็โฆษณาด้วยการนำเซเลปที่มีชื่อเสียงหรือคนที่อ้างว่าป่วยเป็นโรคต่าง ๆ มาช่วยกันโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ ว่าดีอย่างนั้นอย่างดี ทานแล้วหายจากโรคหรือมีอาการที่ดีขึ้น ส่วนใหญ่มักขายในรูปแบบของการขายตรงหรือการทำธุรกิจแบบลูกโซ่ก็ได้ มักจะเชิญชวนใหไปร่วมกันประชุมสัมมนาเฉพาะกลุ่ม และโฆษณาตามทีวีอิสระและโซเชียลเนทเวิร์ค โดยรูปแบบการโฆษณาก็มักจะเป็นคำชวนเชื่อให้เกินความจริง ผู้บริโภคโปรดจำเอาไว้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้กินนอกเหนือจากการกินอาหารหลักตามปกติ เพื่อเสริมสารอาหารที่ร่างกายขาดไป ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่ใช่คนป่วย ก็ไม่จำเป็นต้องกิน รวมไปถึงเด็กและสตรีมีครรภ์ยิ่งไม่ควรให้กินเด็ดขาด ผลิตภัณฑ์ที่มักนำมาโฆษณาเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของสาหร่ายสไปรูลิน่า ไคโตซาน เส้นใยอาหาร น้ำมันปลา ฯลฯ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางการศึกษาหรือผลวิจัยที่น่าเชื่อถือได้มายืนยันว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านั้น สามารถบำบัดรักษาโรได้ การเลือกซื้อควรฉลากให้เข้าใจก่อนว่ามีส่วนประกอบหรือสารอาหารตรงตามความต้องการหรือไม่ และหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงแล้ว ควรรีบแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน อย. 1556 ด้วยนะคะ
-
แค่สวมถุงน่อง เส้นเลือดขอดก็หายได้เหรอ?
แค่สวมถุงน่อง เส้นเลือดขอดก็หายได้เหรอ? หากเทียบสัดส่วนกัน เดี๋ยวนี้สาว ๆ รุ่นนี้มีอาการเส้นเลือดขอดที่ขากันมากขึ้นกว่าสมัยก่อนนะ เพราะการงานสมัยนี้ส่วนใหญ่ ต้องเดิน ยืน เป็นเวลา ๆ รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ อย่างเช่นความอ่อนแอของผนังเส้นเลือดดำและลิ้นในเส้นเลือด มักถ่ายทอดกันมาเป็นกรรมพันธุ์ เกิดจากปัญหาความอ้วน หรือเกิดได้กับหญิงตั้งครรภ์ และคนชรา ทำให้ผิวบริเวณเรียวขาไม่เรียบ มีเส้นเลือดดำ ๆ ม่วง ๆ ปูดโปนเป็นขมวดใต้ผิวหนัง ทำให้คนที่เป็นมักขาดความมั่นใจจนเสียบุคลิกภาพ เดี๋ยวนี้จึงมีผู้เริ่มนำเอาผลิตภัณฑ์ที่มีวิธีการใช้คล้ายถุงน่อง แต่บอกว่าสามารถรักแก้ไขปัญหาเส้นเลือดขอดได้ ราคาคู่เป็นหมื่น! ซึ่งแพงกว่าถุงน่องธรรมดาทั่วไปมาก ผู้ผลิตให้เหตุผลว่าที่ต้องมีราคาแพงเพราะเป็นถุงน่องที่ทำมาจากทองคำขาว นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว แต่ทางอย.ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้นำเข้ามา แต่การโฆษณาดังกล่าวก็ไม่ได้ขออนุญาติโฆษณาเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาอีกด้วย ปัญหาเส้นเลือดขอดบนเรียวขานั้นสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนาน ๆ ควรพักเท้าด้วยการนั่งหรือนอกยกเท้าสูง ครั้งละ 15 นาที หรือจะพักบนม้านั่งก็ได้ – ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้การไหลเวียนโลหิตของบริเวณเอวและต้นขาไม่สะดวกนัก – หมั่นบริหารกล้ามเนื้อน่องด้วยวิธียืนเขย่งเท้า โดยให้เขย่งเท้าขึ้นลงช้าๆ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3…
-
มากินพริกกันเถอะค่ะ
มากินพริกกันเถอะค่ะ พริกเป็นเครื่องปรุงเพิ่มรสเผ็ด มีหลายพันธุ์และหลายรูปแบบแล้วแต่การแปรรูป พบเจอได้ทุกครัวและร้านอาหาร การเติมพริกนั้นก็แล้วแต่ว่าลิ้นของท่านจะชื่นชอบรสเผ็ดมากขนาดไหน ก็ลางเนื้อชอบลางยากันไป พริกเนี่ย อันที่จริงแล้วไม่ได้ให้แต่รสเผ็ดอย่างเดียวนะคะ แต่ยังมีคุณค่าทางอาหารด้วยไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี คาโรตินอยด์ วิตามินเอ ช่วยบำรุงร่างกายแล้วยังมีสรรพคุณทางยาจากแคปไซซิน สารให้ความเผ็ดที่มีอยู่ในพริกอีกด้วย วันนี้เรามาดูกันไหมคะว่าพริกเผ็ด ๆ เนี่ย มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง – พริกช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น ลดความไวของปอดต่อสารระคายเคืองต่าง ๆ ช่วยขับเสมหะได้ด้วย ลดการบวมตัวของเซลล์ในหลอดลม ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม พริกจึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นหอบหืดช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้นนั่นเองค่ะ – พริกมีคุณสมบัติช่วยสลายลิ่มเลือดได้ – แคปไซซินมีฤทธิ์ช่วยชะลอการส่งผ่านของเซลล์ประสาทไปยังสมอง ทำให้รับรู้ความเจ็บปวดช้าลง จึงช่วยลดความปวดได้ – พริกมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลาง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย หลับง่ายขึ้นและลดความดันโลหิตได้ด้วย – พริกทำให้กินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นความอยากอาหารได้ – ในพริกมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วยนะ แต่ทุกสิ่งนั้นเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียด้วยเช่นกัน การกินพริกนั้นควรระวังไว้ว่าไม่ควรทานในขณะท้องว่าง จะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารจนเป็นแผลได้ สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลเป็นในกระเพาะอาหาร การทานอาหารเผ็ด ๆ อาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ค่ะ ต้องระมัดระวังให้มากเช่นกัน
-
แนวทางการเลือกเครื่องดื่มที่จะไม่ทำให้เราอ้วน
แนวทางการเลือกเครื่องดื่มที่จะไม่ทำให้เราอ้วน มีคนอยู่ส่วนน้อยค่ะ ที่จะทราบว่าเครื่องดื่มเย็น ๆ รสชาติหวานหอม ไม่ว่าจะเป็น กาแฟเย็นหวานมัน ชานมไข่มุก น้ำปั่น น้ำอัดลมต่าง ๆ ฯลฯ จะทำให้คุณสามารถอ้วนขึ้นได้ง่ายมากเลยค่ะ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีแคลอรี่เป็นจำนวนมาก เพราะส่วนผสมก็คือ ครีมเทียม นม น้ำตาล ไซรัป หวาน ๆ นั่นเอง นอกจากทำให้อ้วนแล้วยังทำให้เป็น โรคเบาหวาน ฟันผุ และปัญหาสุขภาพอีกมากมายด้วย อีกทั้งในปัจจุบันนี้มีเครื่องดื่มหลายชนิดออกมาทำตลาดมากมาย ดังนั้นเราจึงควรมีวิจารณญาณในการเลือกเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพเรา ด้วยแนวทางต่อไปนี้ 1. เครื่องดื่มที่ดีที่สุดก็คือ “น้ำเปล่า” นั่นเองค่ะ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นปกติ ดับกระหายและให้ความชุ่มชื้นกับร่างกาย ควรดื่มน้ำวันละสองลิตรขึ้นไปด้วยจึงจะเพียงพอค่ะ 2. รองลงมาน้ำสะอาดก็คือ ชาและกาแฟที่ไม่เติมครีมหรือน้ำตาลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ไม่มีแคลอรี่เลย สำหรับบางคนที่อาจไวต่อคาเฟอีนอาจมีอาการใจสั่นหรือคลื่นไส้ได้เมื่อดื่มกาแฟ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า 3. น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง หรือนมที่มีไขมันต่ำ เพราะในนมนั้นมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้แคลเซียม เพื่อบำรุงกระดูก ส่วนน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองก็เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมวัว ให้โปรตีนและแคลเซียมต่อร่างกายได้เหมือนกันค่ะ…
-
รณรงค์ช่วยกันดูแลตัวเองในช่วงที่มีหมอกควัน
รณรงค์ช่วยกันดูแลตัวเองในช่วงที่มีหมอกควัน ในบางฤดูกาลนั้น ตามต่างจังหวัดมักจะมีการเผาขยะ เผาหญ้า เผาซากพืช ฯลฯ กันอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดวิกฤตหมอกควันฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานจนทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วไป เพื่อความไม่ประมาทและความปลอดภัยของทุกคน จึงขอรณรงค์ให้ทุกคนช่วยกันปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้ – หลีกเลี่ยงการเผาขยะ เผาหญ้าแห้ง เผาตอซังข้าว เผาวัสดุทุกชนิด หรือทำอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดหมอกควันขึ้นในพื้นที่ ยิ่งโดยเฉพาะตามเขตชุมชน ริมข้างทาง ใกล้แนวป่า หรือในป่า เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและเหตการณ์ไฟป่าได้ – สำหรับผู้ที่ขับรถในพื้นที่ที่มีหมอกควัน ก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทาง อย่าขับรถเร็ว ควรเปิดไฟหน้ารถหรือไฟตัดหมอก จะช่วยให้เห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น ควรขับเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากว่าปกติ ไม่แข่งหรือขับแซงกัน หากทัศนวิสัยแย่มากจนมองไม่เห็นถนน ให้จอดรถในที่ปลอดภัยก่อนดีกว่า – หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟ หรือฝุ่นควันเข้าสู่ร่างกาย เพราะอาจทำให้มีปัญหาสุขภาพหลังจากสูดดมได้ หากมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด หรือแสบตา ฯลฯ ให้รีบไปพบกับแพทย์ทันที และในขณะที่มีหมอกควันในพื้นที่ควรลดการรองน้ำฝนไว้อุปโภคบริโภคด้วย – ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ยิ่งโดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก และคนชรา และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ควรปิดหน้าต่างอาคารบ้านเรือน ปิดประตูหน้าต่างเพื่อมิให้หมอกควันลอยเข้าบ้าน ช่วงที่มีหมอกควันจัดไม่ควรออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย หรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดปากจมูกไว้ อีกทั้งควรสวมแว่นตากันฝุ่นกันควันเพื่อป้องกันการระคายเคืองตาด้วยค่ะ…
-
ป้องกันไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดอีกรอบ
ป้องกันไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดอีกรอบ โรคไข้หวัดนกนั้นสามารถกลับมาระบาดใหม่ได้อีก เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้ยังคงแฝงตัวอยู่ในประเทศอย่างกัมพูชา อินโดนีเซีย จีน อียิปต์ และเวียดนามอยู่ ดังนั้นเพื่อให้ตนเองและคนในครอบครัวปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก จึงควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ 1. หลีกเลี่ยงการนำไก่ป่วยหรือตายมาปรุงเป็นอาหารเด็ดขาด ล้างเปลือกไข่ให้สะอาดก่อนนำมาปรุง หรือเก็บเข้าตู้เย็น เลือกเนื้อสัตว์หรือไข่จากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่ามีการรับรองมาตรฐานแล้ว 2. ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกเต็มที่ และแยกเขียงของดิบของสุกออกจากกันด้วย 3. หมั่นล้างมือให้สะอาด ก่อนการสัมผัสใบหน้า จมูก ขยี้ตา หรือหลังจับสิ่งของปนเปื้อนต่าง ๆ 4. ไม่ควรล้อมเล้าไก่หรือกักขังไข่ไว้ใต้ถุนบ้าน อย่างสัมผัสสัตว์ปีกโดยไม่จำเป็น และระมัดระวังลูก ๆ เด็ก ๆ ไม่ให้เล่นกับสัตว์ปีก หรือสัตว์อื่น ๆ และสอนให้ล้างมือบ่อย ๆ 5. บรรดาเกษตรกรที่นำเอาขี้เป็ด ขี้ไก่หรือสัตว์ปีกอื่น ๆ มาทำปุ๋ย ควรระมัดระวังตนเอง สวมถุงมือใส่แว่นตา และหน้ากอนามัยทุกครั้ง รวมทั้งรองเท้าบู้ทด้วย และหลังเลือกงานควรซักผ้า ทำความสะอาดอุปกรณ์ รองเท้า ถุงมือ แว่นตา อาบน้ำสระผมให้สะอาดทุกวัน 6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมนุมชน หรือสัมผัสกับผู้ป่วย ปิดปากเวลาไอหรือจาม…
-
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย ปัจจุบันนี้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีคนเป็นกันทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยรายใหม่เพื่อทุกปีกว่าปีละ 500 ราย วันนี้จึงขอนำเอาคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการไตวายมาฝากกันค่ะ โดยผู้ที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้นอกจากผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ก็ยังรวมไปถึง ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำซากในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ควรถนอมไตของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ได้รับสารอาหารและคุณค่าที่หลากหลาย ลดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูงทั้งหลายซะ 2. ควบคุมระดับของความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้ และดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย 4. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 6. งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะทำลายสุขภาพมาก 7. ผู้ที่ป่วยหรือมีอาการโรคไตแล้ว ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการจะลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองที่เหมาะสมค่ะ
-
สังเกตตัวเองดูว่า มีอาการหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือเปล่า?
สังเกตตัวเองดูว่า มีอาการหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือเปล่า? “หน่วยไต” เป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อไต มีปริมาณข้างละหนึ่งล้านหน่วย ทำใหน้าที่กรองน้ำและของเสียออกมาเป็นปัสสาวะ หากมีการอักเสบก็จะขับปัสสาวะออกมาได้น้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือด มีเม็ดเลือดแดงและไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้บวมทั้งตัวและปัสสาวะเป็นสีแดง พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5-10 ปี มักพบหลังเป็นทอนซิลอักเสบหรือแผลพุงพอง แต่หากได้รับการรักษาก็มักจะหายเป็นส่วนใหญ่ มีสาเหตมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มที่ทำให้เกิดโรค ทอนซิลอักเสบ แผลพุงพอง ผิวหนังอักเสบ ฯลฯ เมื่อติดเชื้อร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งนอกจากทำลายเชื้อโรคแล้วยังมีปฏิกิริยาต่อหน่วยไตทำให้หน่วยไตอักเสบ พบได้หลังจากติดเชื้อในคอ 1-2 อาทิตย์ หลังติดเชื้อที่ผิวหนัง 3-4 อาทิตย์ พบได้ราวร้อยละ 10-15 ในเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้อาการหน่วยไตอักเสบยังพบร่วมกับโรคอื่น ๆ อย่างเช่น เอสแอลอี ซิฟิลิส และการแพ้สารเคมีได้อีกด้วย อาการของหน่วยไตอักเสบ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียนคลื่นไส้ บวมทั้งตัว และปัสสาวะสีแดงเหมือนน้ำหมากหรือน้ำล้างเนื้อ เรื่อยไปจนถึงหากมีอาการรุนแรงอาจปัสสาวะออกไดน้อย หอบเหนื่อยหรือชักได้ อาจมีประวัติทอนซิลอักเสบหรือเป็นแผลพุพอง หรือผิวหนังอักเสบมาก่อน 1-4…
-
6 สัญญาณเตือนโรคไต
6 สัญญาณเตือนโรคไต หากร่างกายของท่านส่งสัญญาณเตือนหกประการออกมาเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นโรคไตได้ 1. ถ่ายปัสสาวะขัดหรือถ่ายปัสสาวะลำลาก ท่านมีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและอาจเป็นโรคไตด้วยก็ได้ 2. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะในตอนกลางคืน โดยปกติกระเพาะปัสสาวะคนเราจะสามารถเก็บกักไว้ได้ประมาณหนึ่งแก้ว จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก แต่คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าร่างกายได้ตามปกติ กลางคืนจึงปวดปัสสาวะมาก ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แต่หากท่านดื่มน้ำเป็นปกติก่อนนอนครั้งละ 1-2 แก้วแล้ว การลุกขึ้นมาปัสสาวะอาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หากมากกว่านี้หรือไม่เคยเป็นมาก่อนควรรีบปรึกษาแพทย์ค่ะ 3. ปัสสาวะสีเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่นผิดปกติ แสดงว่าอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะเป็นต้น 4. บวมรอบดวงตา หน้า เท้า มักพบได้ในคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ส่วนอาการบวมที่พบได้ไตเรื้อรังคือบวมที่หลังเท้าและหน้าแข็ง ถ้าเป็นมากจะกดแล้วเป็นรอยบุ๋มลงไป 5. ปวดเอว ปวดหลัง มักมีสาเหตุมาจากมีนิ่วอยู่ในไต หรือในท่อไต อาการปวดเกิดจากการอุดตันของท่อไตหรือ ไตเป็นถุงน้ำพองออกมา จะปวดที่บริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง มักปวดร้าวลงไปที่ท้องน้อย ขาอ่อน และอวัยวะเพศ และตามมาด้วยปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นขาว กะปริบกะปรอย หรือปวดหัวเหน่ารวมด้วย หากหมอเคาะที่หลังเบา ๆ จะปวดมากจนสะดุ้ง…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…