Author: pure
-
สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย
สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย สมองของผู้สูงวัยนั้น นอกจากจะต้องการการออกกำลังกาย การใช้ความคิด หัดใช้สมองอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการกินอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ยังต้องการสารสื่อประสาทเพื่อช่วยให้สมองสั่งการ รับรู้ เคลื่อนไหว จดจำ และรู้สึก ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย สารสื่อประสาทเหล่านี้มีมากกว่าหกสิบชนิด เช่น – เอนดอร์ฟิน ทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย – ซีโรโทนิน ทำให้นอนหลับได้ดี ลดความกังวลใจ – โพรแอนโทรไซยานิดินส์ ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและรับออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท พบได้มากในดาร์คช็อกโกแลต ที่มีส่วนผสมของโกโก้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 – อะเซทิลโคลีน รักษาความจำ ลดความขี้ลืม ซึมเศร้า มีลักษณะคล้ายไขมัน หากขาดสารนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หากร่างกายได้รับโคลีนมากขึ้นจะช่วยให้ความจำดีขึ้น โคลีนนี้พบได้มากในไข่แดง เครื่องใน ตับวัว นมสด ถั่วลิสง ข้าวกล้อง ธัญพืช มันฝรั่ง กะหล่ำปลี กล้วย ฯลฯ นอกจากการมีสารสื่อประสาทในสมองแล้ว ร่างกายของผู้สูงวัยยังต้องการอาหารดี ๆ และการบำรุงสุขภาพอีกด้วย โดยควรดูแลสุขภาพและปฏิบัติตัวได้แก่ ทานอาหารให้มีความพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย…
-
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย ในผู้สูงวัยนั้นมักจะมีระบบความจำที่บกพร่องไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นไปใน สามารถบรรเทาอาการขี้ลืมนี้ได้เพียงการตั้งใจจดจำหรือจดบันทึกให้มากขึ้น แต่หากอาการหลงลืมนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแล้ว อาการหลงลืมนั้นอาจเกิดจากภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งนอกจากจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อยหกเดือนแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยอาการของคนไข้ด้วยว่ามีอาการดังต่อไปนี้ 1. เกิดความบกพร่องในการทำงานของสมองใหญ่ ได้แก่ การบกพร่องในการเรียนรับรู้หรือเรียนรู้ การทำกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ความบกพร่องในการตัดสินใจ หลงทาง ความบกพร่องในการใช้ภาษาและการทำกิจกรรมที่เคยทำมาได้ก่อนแล้ว 2. การประกอบกิจวัตรประจำวันบกพร่องไป ไม่ว่าจะเป็น ไม่อาบน้ำแต่งตัว กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่อยู่ ทานอาหารมูมมาม หกเรี่ยราดทั้งที่เคยเป็นคนเรียบร้อยมาก่อน ขึ้นบันไดเองไม่ได้ หรือลุกนั่งหรือเดินแล้วหกล้ม มีท่าทางการเดินเปลี่ยนแปลงไป แต่งตัวหรือเลือกเสื้อผ้ารองเท้า ไม่ถูกกาลเทศะ เคยขึ้นรถโดยสารคนเดียวได้ก็ทำไม่ได้แล้ว ฯลฯ 3. มีพฤติกรรมและบุคลิกแปลก ๆ หรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น จากคนร่าเริงกลายเป็นคนเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ฉุนเฉียวโมโหง่าย หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูงผู้คนที่เคยไปมาหาสู่สม่ำเสมอ เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย ทำอะไรซ้ำซาก เช่น รื้อหาสิ่งของ เปิดตู้ลิ้นชักค้นหาของตลอดเวลา อาจมีอาการคล้ายจิตเภท เช่น เห็นภาพหลอน มีความเชื่อความคิดที่หลงผิด เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ หรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้ ขอให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุช่วยกันสังเกตบางก็จะทราบได้ว่าท่านมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพสมองไว้ให้ได้นานที่สุดค่ะ
-
วิธีสังเกตลูกว่าเป็น…ออทิสติก
วิธีสังเกตลูกว่าเป็น…ออทิสติก ปัจจุบันนี้มีคนไทยเป็นออทิสติกมากกว่าสองแสนคน หรือโดยเฉลี่ย 1 คนต่อประชากร 200 คน โรคออทิสติกนี้เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติในด้านของสังคม การสื่อสารและภาษา ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อขณะคลอด หรือความไม่สมดุลในสารเคมีบางอย่างในร่างกาย ซึ่งการประเมินว่าเด็กจะเป็นออทิสติกหรือไม่ก็สามารถเฝ้าสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กที่บันทึกไว้ว่าเป็นไปตามวัยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น การโต้ตอบ การยิ้ม หัวเราะ สนใจฟัง ซึ่งเด็กที่เป็นออทิสติกนั้น จะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีแรกที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นออทิสติกได้ เช่น เด็กดูดนมได้ไม่ดี เด็กนิ่งเงียบ นิ่งเฉย ไม่ชอบให้ใครอุ้ม หรือกอดรัด หรือติดคนจนมากเกินไปก็ได้ ไม่สบตาคน ไร้อารมณ์ เฉยเมยเมื่อถูกชักชวนให้เล่น ไม่อ้อแอ้ ชี้นิ้วไม่เป็น เรียกคนอื่นมาเล่นไม่เป็น ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น ของเล่น ตุ๊กตา ผ้าอ้อม หมอนข้าง หรืออะไรก็ได้ หากไปดึงออกจะร้องอยู่นานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กจะสังเกตเห็นได้ว่าเด็กไม่เหมือนคนอื่น แต่หากเป็นเด็กที่อายุเกินขวบไปแล้ว จะเห็นว่าอาการก็คือเด็กจะไม่สนใจคนอื่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเล่นกับคนอื่นไม่เป็น ถ้าไม่กลัวใครมากเกินไปก็จะไม่กลัวใครเอาเสียเลย ชี้นิ้วหรือบอกความต้องการของตัวเองไม่เป็น สมมติไม่เป็น เช่น เล่นตุ๊กตาก็ไม่รู้จะจับตุ๊กตาแบบไหน…
-
อร่อยปาก…ลำบากพุง !!!
อร่อยปาก…ลำบากพุง !!! อาหารอร่อย ๆ นั้นทุกคนไม่ว่าใครก็ชอบกิน เพราะอาหารอร่อยทำให้ผู้ทานรู้สึกมีความสุข คลายเครียดได้ หลายคนที่มีความเครียด หรือความกดดันจากชีวิตด้านอื่นมักจะเลือกการกินเพื่อบรรเทาความเครียดในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติที่ถูกปากที่ถูกปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ กลิ่นหอมที่ได้กลิ่นเมื่อไรก็น้ำลายสอ ความอร่อย หวานหอม สดชื่นจากเครื่องดื่ม และบรรยากาศดี ๆ ในร้านอาหารก็ยิ่งทำให้รู้สึกอยากกินบ่อย ๆ เมื่อเป็นแบบนี้นาน ๆ เข้า ความอ้วนและน้ำหนักเกินก็มาเยือน ยิ่งถ้าไม่ค่อยมีเวลาได้ออกกำลังกายมากขึ้น การมีโรคเรื้อรังก็ตามมา และนับวันปัญหาก็ยิ่งเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งในประเทสสหรัฐอเมริกาแล้ว อาหารที่ประชากรในประเทศทานก็ยิ่งเอื้อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มันฝรั่งทอด เนื้อแดงชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไส้หรอก หมูแฮม เบคอน อาหารขยะต่าง ๆ รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่คนอเมริกันทำนั้นก็ไม่ค่อยจะทำให้มีให้มีสุขภาพดีเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ๆ นอนๆ ดูทีวี หรือนอนน้อย เหล่านี้ทำให้ชาวอเมริกันประสบปัญหากับโรคอ้วนมากขึ้น แม้แต่คนไทยเองที่เริ่มกินเนื้อสัตว์มากกว่ากินข้าวและผัก ดื่มน้ำอัดลม ชาเย็น ของทอดน้ำมัน และอาหารปรุงแต่งมากขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง นั่ง…
-
รู้จักกับโรคพาร์กินสัน
รู้จักกับโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายมีอาการเกร็ง สั่นและเคลื่อนไหวได้ช้า มีสาเหตุมาจาก 1. ความเสื่อมสภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองส่วนที่สร้างสารโดพามีนซึ่งทำหน้าที่ในการสั่งการให้ร่างกาย เคลื่อนไหว มีจำนวนที่ลดลง พบมาในกลุ่มที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด 2. หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์ที่สร้างโดพามีนน้อยลง 3. เกิดจากสารพิษมาทำลายสมอง เช่น พิษจากคาร์บอนมอนนอกไซด์ หรือแมงกานีนในโรงงานถ่ายไฟฉาย 4. สมองขาดออกซิเจนในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ หรือการอุดตันของทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหาร 5. สมองถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ 6. สมองเกิดการอักเสบ 7. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน 8. เกิดจากยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะและยาแก้อาเจียน อาการของโรคพาร์กินสันนี้จะแสดงออกมามากหรือน้อยก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น อายุ ระยะเวลาการเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อน มีอาการที่แสดงออกก็คือ 1. อาการเริ่มแรกของโรคก็คืออาการสั่น กว่าร้อยละ 60 จะสั่นโดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ อาการสั่นก็จะน้อยลง มักสั่นที่มือหรือเท้า อาจพบได้ที่คางหรือลิ้นด้วย 2.…
-
พิษอันตรายจากสารตะกั่ว
พิษอันตรายจากสารตะกั่ว ตะกั่ว เป็นโลหะชนิดอ่อนที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ เป็นโลหะที่มนุษย์สนใจความเป็นพิษของมันมากที่สุด เพราะมีการนำเอาตะกั่วมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์, ตะกั่วอินทรีย์เป็นสารเคมีที่ใช้เติมน้ำมันเบนซิน, อุตสาหกรรมสีและสารเคมี, สารฆ่าแมลงจากตะกั่วอาร์เซนเนทในผสมสีทาอาคาร, สีที่ผสมในของเด็กเล่น, สีสำหรับวาดภาพ, สีที่ใช้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้มนุษย์ทุกคนมีโอกาสสัมผัสกับตะกั่วได้แทบทุกวัน นอกจากนี้แล้วยังมีการนำเอาตะกั่วออกไซด์มาใช้เป็นเครื่องสำอางค์ด้วย กองพิษวิทยาเคยตรวจพบแป้งโยตัวเด็กมีตะกั่วปนอยู่ถึงร้อยละ 74 อันตรายต่อเด็กมาก อีกทั้งคนทั่วไปยังได้รับสารตะกั่วจากท่อไอเสียรถยนต์ อาหาร น้ำ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตะกั่วเป็นโลหะที่ไม่จำเป็นในกระบวนการดำรงชีวิต จึงมีการกำหนดมาตรฐานป้องกันสารตะกั่วปนเปื้อนในอากาศ น้ำและอาหาร เพื่อความปลอดภัยของประชากรหลายประเทศและประเทศไทยด้วย พิษเรื้อรังของตะกั่วนั้นจะแสดงอาการออกมาหลังจากได้รับตะกั่วทีละน้อย อาจใช้เวลาเป็นปีกว่าจะแสดงอาการ ตะกั่วนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่เหล็กซึ่งใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง ปริมาณเหล็กในน้ำเหลืองเพิ่มผิดปกติ ตะกั่วบางส่วนจะไปสะสมในกระดูก ทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุและหักง่าย หากสะสมที่รากฟันทำให้เห็นสีม่วงหรือสีดำที่เหงือก ทำให้ฟันหลุดได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังสะสมในไขมัน ระบบประสาท น้ำเหลือง ตับไต อาการพิษเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก…
-
การเรียนรู้ของเด็กปัญญาอ่อน
การเรียนรู้ของเด็กปัญญาอ่อน ในประเทศไทยมีอัตราของเด็กปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะพ่อแม่สมัยนี้แต่งงานกันช้าลง มีลูกก็ช้าลงไปเรื่อย ๆ บางรายก็มีลูกกันอายุ 40 ปีเข้าไปแล้ว เด็กจึงมีความเสี่ยงในการเป็นปัญญาอ่อนมากขึ้น เด็กปัญญาอ่อนนั้นหมายถึงเด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ – ปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้ หรือปัญญาอ่อนขนาดน้อย เด็กปัญญาอ่อนประเภทนี้จะมีระดับเชาสน์ปัญญาประมาณ 50-70 สามารถเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในห้องเรียนพิเศษได้ และสามารถร่วมทำกิจกรรมทางสังคมกับเด็กปกติได้ ใช้หลักสูตรที่ปรับจากหลักสูตรเด็กปกติ ส่วนชั้นมัธยมจะเน้นทักษะทางอาชีพ สามารถฝึกอาชีพหรืองานง่าย ๆ ได้ – ปัญญาอ่อนประเภทฝึกได้ หรือปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง มีระดับเชาวน์ปัญญาระหว่าง 25-50 พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ เน้นการช่วยเหลือตนเองและทักษะทางอาชีพได้ – ปัญญาอ่อนมากและรุนแรง มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 25 ต้องการการช่วยเหลือหรือฝึกหัดตนเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ แต่บางคนต้องการการเลี้ยงดูและการรักษาพยาบาลไปด้วย อาการเหล่านี้สามารถสังเกตและตรวจสอบร่วมกับแพทย์ได้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่หากสังเกตพบภายหลังควรรีบพาไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจรักษา และการให้การศึกษาที่เหมาะสม เด็กก็จะมีโอกาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งนอกจากการเรียนในโรงเรียนให้เหมาะสมตามความสามารถแล้ว การนำเอาดนตรีและศิลปะมาช่วยบำบัดฟื้นฟูเด็กก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน เหมาะสำหรับพัฒนาการเด็กพิเศษในหลาย ๆ กลุ่ม คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามจากแพทย์หรือศูนย์ดูแลเด็กพิเศษได้โดยตรงค่ะ
-
ภาวะเด็กพิการทางสมอง
ภาวะเด็กพิการทางสมอง ในบรรดาความผิดปกติทางสมองของเด็กนั้น อาการพิการทางสมองดูน่าจะเป็นอาการที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง อาการพิการทางสมอง ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CP (Cerebral Palsy) จะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกติทั้งการขยับแขนขา ลำตัว ใบหน้าลิ้น และการทรงตัวด้วย แต่เด็ก CP ส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาที่ดี ไม่มีอาการปัญญาอ่อน ประมาณร้อยละ 80 ของเด็กที่มีภาวะพิการทางสมองนี้จะมีไอคิวมากกว่า 70 ขึ้นไป รวมไปถึงบางรายอาจมีความรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วยแต่จะมีความมากน้อยที่แตกต่างกันไป เด็กพิการทางสมองนี้จะมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของเนื้อสมองที่เกิดความเสียหายว่าเกิดขึ้นบริเวณใด การจะทราบว่าพิการทางสมองแบบไหนก็ขึ้นอยู่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจวินิจฉัย โดยเด็กที่มีอาการนี้จะมีปัญหาในการยืน เดิน หรือนั่ง มีพัฒนาการช้าไม่ว่าจะเป็น ตั้งไข่ ยืนหรือเดนก็ช้า บางรายที่เป็นมากอาจเดินหรือนั่งก็ยังไม่ได้ จะเอนกายล้มลงอย่างเดียว มีอาการแขนขาและคอเกร็ง บางรายก็พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด ควบคุมน้ำลายไม่ได้ หากคุณผู้ปกครองพบว่าลูกของท่านมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด ภาวะเด็กพิการทางสมองนี้ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดและพัฒนาการเรียนรู้ให้เร็วที่สุด ยิ่งพบได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเด็กมากขึ้นเท่านั้น มีการบำบัดเด็ก ๆ ได้หลายวิธีเลยทีเดียว อีกทั้งวิทยาการทุกวันนี้ก็ยังนำเอาดนตรีและศิลปะมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กด้วย สองวิธีนี้คุณพ่อและคุณแม่สามารถช่วยพัฒนาเด็ก ๆ ที่บ้านร่วมด้วยก็ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเรียนรู้แนวคิดและกระบวนการเหล่านี้เพื่อมาพัฒนาสมองของเด็ก ๆ ก็จะช่วยให้น้องมีอาการดีขึ้นได้ค่ะ
-
เด็กที่มีปัญหาความบกพร่องในการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ คือเด็กที่มีความบกพร่องในกระบวนการสื่อสาร มักจะเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการพูดและการเขียน หรือเรียกอีกอย่างว่า Learning Disability LD โดยมากเด็กมักมีปัญหาดังต่อไปนี้ 1. เด็กจะมีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณตัวเลข 2. เด็กจะมีปัญหาทางด้านของภาษา มักจะมีปัญหาทางด้านการพูดและการใช้ภาษา 3. เด็กจะมีความบกพร่องในการรับรู้ คือการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อจดจำ จำแนก หรือการแปลความหมายสิ่งต่าง ๆ 4. เด็กจะมีความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แบ่งออกได้สามแบบ ก็คือเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ , เคลื่อนไหวที่น้อยหรือช้ากว่าปกติ รวมไปถึงไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้ 5. มักมีปัญหาทางสังคมและอารมณ์ อาจเป็นการมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับตัวเอง ไม่อดทน วิตกกังวลมาก ก้าวร้าวต่อต้านสังคม ทำงานช้า และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง มักไม่มีเพื่อนเพราะไม่มีใครอยากคบด้วย 6. เด็กจะมีปัญหาความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ได้ยินหรือสิ่งที่มองเห็น จึงทำให้มีปัญหาทางด้านการทำการคำสั่ง การสะกดคำและการจดจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ 7. เด็กจะมีปัญหาสมาธิสั้น มีความสนใจในเรื่องใด ๆ ที่มีระยะสั้น การช่วยเหลือเด็กกลุ่มที่มีปัญหาความบกพร่องในการเรียนรู้เช่นนี้ควรรีบพาไปแพทย์เฉพาะทาง เพื่อช่วยในการฟื้นฟูศักยภาพของเด็กขึ้นมา ยิ่งพบและพาไปพัฒนาศักยภาพได้เร็วขึ้นเท่าไร เด็กก็จะดีขึ้นไปเร็วมากขึ้นเท่านั้น การบำบัดเด็กนั้นมีหลายวิธี การนำเอาดนตรีและศิลปะเข้ามาช่วยก็เป็นอีกวิธีที่บำบัดได้ดีด้วย ส่วนจะนำมาใช้มากขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับกุมารแพทย์จะเป็นผู้แนะนำค่ะ…
-
วิธีสังเกตอาการของเด็กสมาธิสั้น
วิธีสังเกตอาการของเด็กสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นในเด็กนั้นวิธีการวินิจฉัยจะต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ – เด็กขาดสมาธิ Inattention มีลักษณะที่แสดงออกคือ.. เด็กจะสนใจของเล่นหรืองานตรงหน้าแค่เพียงไม่กี่นาทีแล้วก็จะเบื่อหน่าย, ขาดความพยายามในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะหรือมีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่, ไม่สามารถทำงานอะไรให้สำเร็จได้, ไม่มีสมาธิเวลาเรียน เวลาเล่น หรือเวลาทำอะไรก็ตาม, เวลาฟังจะไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้หมด หรือความตั้งใจมีสั้นมาก, ขี้ลืมบ่อย ๆ และวอกแว่กบ่อย ๆ – เด็กจะมีอาการ Hyperactivity ไม่อยู่นิ่งเคลื่อนไหวตลอดเวลา, เล่นไปรอบ ๆ ห้อง แม้แต่เวลาจับให้นั่งบนเก้าอี้ก็ต้องโยกไปมา เคาะโต๊ะ ส่งเสียงดัง เตะของโน่นนี่ มักรอคอยอะไรไม่เป็น และชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นกำลังพูดกันอยู่ บางคนอาจชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน – เด็กจะมีอาการหุนหันพลันแล่นหรือ Impulsivity มักตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยไม่คิด พูดไม่คิด หรือข้ามถนนโดยไม่ดูรถ ไม่สามารถรอคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ อาจแย่งของเล่นจากเพื่อนหรือไม่พอใจเพื่อนก็อาจทำลายของเล่นนั้นไปเลย แพทย์จะประเมินโรคว่าเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ก็ด้วยการสังเกตพฤติกรรมข้างต้นว่าเป็นมากเกินไปหรือเปล่า มีระยะเวลานานขนาดไหน แล้วอาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่เมื่อเทียบกับเด็กที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน รวมไปถึงสังเกตด้วยว่ามีพฤติกรรมที่ตอบสนองเพียงบางครั้งหรือทุกครั้ง หรือพฤติกรรมนั้นเกิดซ้ำ ๆ กันต่างกาละเทศะด้วยหรือเปล่า การสังเกตลูก ๆ ของพ่อแม่ก็เป็นการช่วยอีกทางหนึ่ง…