Author: pure
-
เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย
เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรีย นั้นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งทำให้เกิดโรคได้คนได้มีอยู่ 4 ชนิดดังนี้คือ – ฟัลซิปารัม – ไวแวกซ์ – มาลาเรียอี – โอวาเล่ ซึ่งเชื้อมาลาเรียที่พบบ่อยในเมืองไทยได้แก่สองชนิดแรก เชื้อฟัลซิปารัมอาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วน ไวแวกซ์และโอวาเล่สามารถซ่อนตัวอยู่ในตับได้นาน และกลับออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เป็นโรคได้อีก แห่งของเชื้อไข้มาลาเรียนี้จะอยู่ตามชายแดน ภูเขาสูง ป่าทึบ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำธาร เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง พบมากในจังหวัด ตราด ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชุมพร ซึ่งติดต่อได้ด้วยยุงก้นปล่องเป็นพาหะมากัดคน อาการของผู้ป่วยไข้มาลาเรียนั้นจะปรากฏออกมาหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 อาทิตย์ โดยจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หนาวสั่น ไข้สูงเหงื่อออก ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยจะทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ ไข้มาลาเรียนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็วและรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามเชื้อ การป้องกันตัวเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งที่มีการระบาดของไข้มาลาเรียนั้นควรป้องกันตนเองมิให้ยุงมากัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง…
-
รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย
รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย ในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. นั้นจะเป็นช่วงที่โรคมาลาเรียมีการระบาดสูงสุด ทั่วโลกจึงร่วมกันรณรงค์แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะในแต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกถึงประมาณสามร้อนกว่าล้านคน เสียชีวิตราว 1 ล้านคน ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 พบในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยมากที่สุดห้าอันดับแรกอยู่ในจังหวัด ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนองและสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า เขา สวนยางพารา แหล่งน้ำ ภูเขาสูงชันและลำธาร โดยเฉพาะบริเวณชายแดน โรคไข้มาลาเรีย ไข้ป่าหรือไข้จับสั่นนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ไปกัดคนที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่ เชื้อนี้จะเข้าไปเจริญแบ่งตัวในยุงแล้วก็ไปกัดคนต่อไป ปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดเจริญเติบโตที่ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน จึงเกิดอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อตัว อาเจียน หนาวสั่น สะบัดร้อนสะบัดหนาว เหงื่อออก รู้สึกดีขึ้นแล้วก็กลับมาเป็นใหม่อีก บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลือง ซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได ไข้มาลาเรียไม่สามารถกินยาป้องกันล่วงหน้าได้ หากเข้าป่าควรป้องกันยุงโดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง…
-
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ เรียกได้ว่าผู้หญิงแทบทุกคนทุกช่วงวัยต้องเคยเป็นมากันทั้งนั้น เป็นโรคที่รักษาไม่ยากแต่หากไม่รักษาแต่ปล่อยไว้จะลุกลามจนอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาได้ โรคนี้นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักปะปนอยู่ในอุจจาระของคนเรา มักจะแปดเปื้อนอยู่รอบ ๆ ทวารหนัก หากทำความสะอาดไม่สมบูรณ์ เชื้อโรคก็อาจแปดเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ เข้าไปภายในกระเพาะปัสสาวะได้ ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงนั้นจะมีท่อปัสสาวะสั้นจึงง่ายต่อการติดเชื้อมากกว่าผู้ชายที่มีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วหากมีการถ่ายปัสสาวะออกทุกครั้งที่ปวดก็จะสามารถขับเชื้อโรคออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นไว้ก็จะทำให้เชื้อมีเวลาที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ได้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้น โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงที่ทำความสะอาดหลังอุจจาระไม่ดีและชอบอั้นปัสสาวะไว้ รวมไปถึงบางคนที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย ได้แก่คนที่เป็นเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะหรือมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้ หรือมีการใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ อาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการถ่ายกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อยปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายอาจปวดท้องน้อย ปัสสาวะมักจะใส ๆ บางคนก็ขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ยกเว้นมีกรวยไตอักเสบด้วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดเอวด้วย ในเด็กเล็กจะมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มักมีอาการหลังจากอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบความปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละ สามลิตรขึ้นไป หรือดื่มน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 แก้ว ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด น้ำจะช่วยขับเอาเชื้อโรคออกมาและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ –…
-
ปรับพฤติกรรมการกินเลี่ยงอาหารเป็นพิษ
ปรับพฤติกรรมการกินเลี่ยงอาหารเป็นพิษ อาหารเป็นพิษ นั้นหมายถึง อาหารป่วยที่เกิดจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พยาธิ หรือสารพิษต่าง ๆ รวมไปถึงสารเคมี โลหะหนักและสารพิษในธรรมชาติของสัตว์หรือพืช ไม่ว่าจะเป็น พิษจากเห็ดพิษ หรือพิษจากปลาปักเป้าหรือสาหร่ายบางชนิดด้วย ฯลฯ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเดือน มี.ค. ถึงเดือน ก.ย. เป็นช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ก็เจริญเติบโตได้ดี รวมไปถึงเห็ดตามธรรมชาติด้วย อีกทั้งพฤติกรรมการกินที่ชอบกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อย่าง ลาบ ลวกจิ้ม ลู่ เหล่านี้ ก็ทำให้มีผู้ป่วยอาหารเป็นพิษมากเป็นพิเศษ หลังจากกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปแล้วผู้ป่วยจะเกิดอาหารภายในเวลา 1 ชม. จนถึง 7-8 วัน จะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไข้ขึ้น เบื่ออาหาร ท้องเดิน บางรายอาจเป็นหนักมากจนสูญเสียน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย จนอาจหมดสติและเสียชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันระวังโรคอาหารเป็นพิษ ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ทุกชนิด –…
-
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ในแต่ละปีนั้นประเทศไทยพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีละกว่าสามแสนคน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีละแปดแสนคนเลยทีเดียว เพราะมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ไขมันสูง มีเกลือมากและรสชาติหวานมากเกินไป ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยนี้ให้ลดน้อยลง ให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการทานยา และมีจำนวนผู้ป่วยลดน้อยลงให้ได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้พอดีด้วยการกินแป้งที่ไม่ขัดข้าว พวกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง มัน เผือก เท่าที่พออิ่ม อาหารเหล่านี้มีเส้นใยอยู่ด้วยจึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้ อาหารอีกชนิดได้แก่ผักใบ ช่วยลดน้ำตาล ควบคุมน้ำหนักตัว และเส้นใยอาหารทำให้ดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ลดระดับคอเลสเตอรอลได้ดี อีกประการก็คือควรลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี รวมไปถึงระดับไขมันและความดันโลหิตด้วย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อแดง ไขมันสัตว์ กะทิ เนย นมไขมันสูง เพราะจะกระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไขมันทรานส์ที่พบได้มากในอาหารทอดน้ำมัน เบเกอรี่ เนย นมข้น ก็ยังเพิ่มระดับของ LDL ขึ้นและลดไขมันตัวดี HDL ลง เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นผนังหลอดเลือดแข็งตัว และเกิดโรคหลอดเลือดได้ ไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงต่อการไตวาย ซึ่งจะพบได้มากในผู้ป่วยเบาหวานประเภทสอง ผู้ป่วยเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูงนั้น ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ หากมีความตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมตนเองด้วยการกินอาหารที่ดี รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ…
-
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…
-
หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ
หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โรคภัยก็เพิ่มมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไป ร่างกายเสื่อมลง ประสิทธิภาพก็เริ่มถดถอยลง ยาต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อประคองร่างกายและรักษาสภาพไว้ให้ดีที่สุด บางคนมีโรคเรื้อรังหลายโรค หาหลายหมอ กินหลายยา ในยาเหล่านี้แม้จะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ได้ เมื่อกินหลายชนิดรวมกัน บางทีก็ยังทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าโรคยาทำได้อีกด้วย การกินยาจึงจำเป็นต้องเลือกกินแต่พอเพียง โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. กินยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น รวมไปถึงจำนวนชนิดของยาและระยะเวลาการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้สั่งจ่ายด้วยว่า ยาแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้อย่างไร แล้วควรใช้ยาได้นานขนาดไหน อีกทั้งยาบางชนิดนั้นถ้าไม่มีอาการก็ไม่ควรใช้ด้วยค่ะ 2. นำเอายาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้อยู่ไปให้แพทย์ได้รับรู้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายยาซ้ำซ้อน ลดผลเสียของยาและยาตีกัน รวมไปถึงสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจส่งผลต่อยาและความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปหาหมอหลาย ๆ คนจะมีโอกาสได้ยาซ้ำซ้อนจนเกินขนาดและเกิดอันตรายได้ 3. การรับยาควรตรวจเช็คยาทุกครั้งทันที เช่น ชื่อผู้ป่วย ชนิดของยา วิธีใช้และข้อควระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 4. จัดเตรียมทานยาให้พร้อมและให้เป็นเวลาเช่น หักครึ่งเม็ดเอาไว้ หรือกดยาจากเม็ดฟอยด์เตรียมไว้ จัดยาใส่กล่องไว้ตามเวลาเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทานยาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ยาจะได้มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ครบถ้วน ในผู้สูงอายุนั้นการใช้ยาจะเป็นการเสี่ยงอันตรายมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่น ๆ จึงควรใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และควรทำความเข้าใจถึงข้อบ่งใช้ของยา วิธีใช้ที่ถูกต้อง เตรียมความสะดวกต่อใช้กับ รวมไปถึงการให้กำลังใจกับผู้สูงอายุเพื่อการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสำคัญ…
-
วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ
วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องอาศัยเรี่ยวแรงของลูกหลานในการลุกนั่งหรือเดินมากขึ้น แล้วเราจะพยุงท่านอย่างไรจึงจะปลอดภัยทั้งสองฝ่าย การดูแลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุนั้นควรคำนึงถึงสองประเด็นดังต่อไปนี้ – ระวังการหกล้ม เพราะจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย หรือหลอดเลือดในสมองมีปัญหาได้มาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษได้แก่ ในส่วนรองเท้านั้น แม้จะอยู่ในบ้านก็ควรสวมรองเท้าที่สภาพดี ๆ พื้นไม่ลื่นจะได้ทรงตัวได้ดี จัดข้าวของในบ้านอย่าให้รก และเกะกะ ระวังพื้นลื่น ๆ ในห้องน้ำ ยิ่งหากพื้นเป็นขั้น ๆ ยิ่งอันตรายมาก หากผู้สูงอายุต้องการเดินไปห้องน้ำ หรือไปออกกำลังกายก็ตาม คนช่วยพยุงด้วย และคนที่พยุงควรมีความแข็งแรงกว่าผู้สูงอายุด้วย แต่หากผู้สูงอายุยังพอมีแรงบ้าง จะหาเครื่องช่วยบ้างว่าจะเป็นไม้เท้า ก็จะช่วยให้เดินได้มั่นคงขึ้น ให้ท่านสวมเข็มขัดเส้นใหญ่ ๆ เอาไว้เราก็จะได้จับยึดประคองได้ถนัดมากขึ้น – การเดินเหิน ระวังจะเป็นลมหรือเหนื่อยมากเกินไป ค่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบถ จากท่านอนไปนั่ง แล้วค่อย ๆ ยืน มิฉะนั้นเลือดอาจไปเลี้ยงสมองไม่ทัน หน้ามืดเป็นลมได้ แต่ละวันควรให้ออกกำลังกายเบา ๆ บ้างวันละประมาณ 15-20 นาทีจะมีประโยชน์กับร่างกาย สิ่งที่ผู้พยุงร่างกายคนสูงอายุควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ 1. ผู้พยุงต้องประเมินกำลังของตนเองให้ดี เพราะการพยุงผู้สูงอายุก็เหมือนยกของหนัก ถ้ามากเกินกำลังก็อาจทำให้ผู้พยุงบาดเจ็บได้เช่นกัน 2.…
-
ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน
ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ทำให้มีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง ช้าลงและร่างกายสั่นเกร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะท้าย ๆ ก็จะมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วยได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญของโรคนี้ เกิดจากการลดลงของสารโดพามีนในสมอง เพราะสมองส่วนที่ทำหน้าที่สร้างสารนี้ทำงานน้อยลง สามารถเกิดขึ้นได้เอง และพบได้บ่อยที่สุด อีกทั้งยังมีสาเหตุอื่น ๆเช่น ความผิดปกติในสมองจากหลอดเลือดอุดตัน การกินยาบางชนิด การมีหลอดเลือดสมองแตก ฯลฯ และในอนาคตนั้นสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงวัยมากขึ้น เพราะหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้หญิงไม่แต่งงานมีมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือการมีลูกน้อยลง ผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองให้มากขึ้นด้วยยึดหลัก 3 อ. ได้แก่ 1. อารมณ์และสุขภาพจิต หมั่นออกำลังกายเป็นนิจ เพื่อช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง ทำให้ทรงตัวได้ดี และนอนหลับได้ง่ายขึ้น ป้องกันความเสื่อมของร่างกายในส่วนต่าง ๆ การออกกำลังกายนี้สามารถเลือกได้ตามชอบ ทั้งการเล่นกีฬาและการใช้แรงงานทำงานในชีวิตประจำวัน ควรหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 2. อากาศและสภาพแวดล้อม อยู่ในที่ที่มีอากาศดี สะอาดปลอดโปร่ง มีลมพัดสบาย หายในได้สะดวก ทำให้ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนได้เต็มที่ ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในเมืองควรหาโอกาสไปพักผ่อนต่างจังหวัดตามชนบทหรือชายทะเลบ้าง 3. งานอดิเรก สร้างความเพลิดเพลิน ทำให้ไม่เหงา ไม่ว่าจะเป็นงานที่สร้างรายได้หรือไม่ก็ได้ อาจเป็นการเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ได้ ลูกหลานและคนในครอบครัวก็ตาม หากมีเวลาว่างในวันหยุดก็ควรพาผู้สูงอายุในบ้านไปท่องเที่ยวพักผ่อน ผู้ที่อยู่ห่างไกลกัน…
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำพบได้มากในท้องตลาดจริง ๆ นับตั้งแต่เช้าที่เราทานปาท่องโก๋ทอด ก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ลูกชิ้นไส้กรอกทอด ทอดมัน เฟรนส์ฟราย ฯลฯ ล้วนก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการปรุงอาหารทั้งนั้น อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะมีสารที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำให้ร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งอีกด้วย สารดังกล่าวก็คือสารโพล่าร์ และโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน พบได้ทั้งในน้ำมันที่ทอดและจากไอระเหยขณะทอด เป็นอันตรายทั้งผู้ขายและผู้บริโภคนั้นเอง ซึ่งน้ำมันที่เสื่อมสภาพจากการทอดซ้ำนั้น เมื่อดูด้วยสายตาจะพบว่ามีความข้นหนืดมากกว่าปกติ มีสีดำเป็นฟองมาก เหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด น้ำมันปรุงอาหารจะเสื่อมสภาพได้มากเมื่อถูกความร้อนสูงและมีความชื้น ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดสารโพลาร์ ยิ่งเติมเครื่องปรุงหรือเกลือลงไปด้วยแล้ว ยิ่งเท่ากับเป็นการเร่งให้เกิดสารโพล่าร์มากขึ้นเท่านั้น ในภาคเหนือเองก็มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำสำหรับการแคบหมูกับอยู่เนือง ๆ การใช้น้ำมันซ้ำ และนำเอาน้ำมันหมูไปแบ่งขายอีก อาจทำให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตได้รับอันตรายจากสารต่าง ๆ ดังนั้นหลีกเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีกว่าค่ะ