Author: pure

  • 10 วิธีช่วยลดภาวะโลกร้อน

    10 วิธีช่วยลดภาวะโลกร้อน

    10 วิธี ช่วยลดภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม สภาวะอากาศและส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงสุขภาพร่างกายของพวกเราด้วย การช่วยกันลดภาวะโลกร้อนจึงเป็นภาระของทุกคน และควรเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อนด้วย 10 วิธีลดภาวะโลกร้อนดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ปรับพื้นหลังของ Wapaper ให้เป็นเข้มหรือสีดำ และพักหน้าจอหรือ Screen Saver ก็ควรตั้ง Blank เป็นสีดำสนิทไปด้วยเมื่อไม่ได้ใช้งาน 2. หัดใช้ผ้าเช็ดหน้าแทบกระดาษทิชชู เพราะกระดาษนั้นทำมาต้นไม้ ยิ่งใช้มากก็เท่ากับส่งเสริมให้ตัดไม้มากขึ้น 3. ถอดปลั๊กออกเมื่อชาร์ตแบตเต็มแล้วอย่างปล่อยค้างไว้ 4. ประหยัดน้ำ อาจเป็นการเปลี่ยนมาใช้หัวก๊อกเพิ่มฟองอากาศ ทำให้ดูเหมือนมีน้ำเยอะขึ้นแต่ประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงเท่าตัว 5. ประหยัดไฟฟ้าทุกชนิดปิดทุกอย่างที่ไม่ใช้และถอดปลั๊กออกด้วย เปลี่ยนหลอดไฟมาเป็นหลอดประหยัดไฟ แม้จะแพงกว่าแต่อายุการใช้งานก็ยาวกว่ามาก 6. ไปตลาดพกถุงผ้าไป เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก 7. ลดการทานอาหารแช่แข็ง เพราะกระบวนการแช่แข็งทำให้เปลืองพลังงาน กล่องก็เป็นพลาสติกอีก รวมทั้งการขนส่งและการกักเก็บในร้านก็ต้องอาศัยความเย็น แม้แต่ตอนจะกินก็ต้องอุ่นให้ร้อน สิ้นเปลืองไฟฟ้ามากมายทั้งสิ้น และอร่อยสู้ของสดไม่ได้อีกต่างหาก 8. ปั่นจักรยานให้มากขึ้นเวลาไปธุระใกล้ ๆ ได้ออกกำลังกาย และไม่เปลืองน้ำมันด้วยนะ 9. ลดการใช้จ่ายหรือช้อปปิ้งลง ลดการซื้อของสิ้นเปลืองลงบ้าง อะไรที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอก 10. ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น…

  • รู้ไว้ก่อนไปบริจาคเลือด

    รู้ไว้ก่อนไปบริจาคเลือด  นับเป็นมหากุศลนะคะสำหรับการบริจาคโลหิต แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยไปบริจาคโลหิตเลยอยากลองไปซักครั้งของชีวิต ก็มีเรื่องต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมเหมือนกัน ทั้งก่อนและหลังการบริจาค ลองอ่านกันดูค่ะ คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตได้แก่ – น้ำหนักตัวตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพดีแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต – มีอายุระหว่าง 17 – 70 ปี อยู่ที่มีอายุ 17 ปีต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง หากเป็นผู้บริจาคครั้งแรกอายุต้องไม่เกิน 55 ปี การเตรียมตัวก่อนมาบริจาคโลหิตนั้น.. – ควรนอนหลับพักผ่อนให้พออย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป ในคืนก่อนที่จะมาบริจาค – มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นไข้หวัดหรืออยู่ระหว่างการทานยาแก้อักเสบใด ๆ – ทานอาหารมื้อหลักมาก่อนบริจาค แต่ให้หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ของทอดของหวานต่าง ๆ – ดื่มน้ำ 3-4 แก้วและเครื่องดื่มอื่น ๆ เพิ่มไม่ว่าจะเป็น น้ำหวาน น้ำผลไม้ นม เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิต…

  • รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่

    รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่

    รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่ มีผลการวิจัยพบว่า เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีผู้ปกครองหรือคนในบ้านสูบบุหรี่นั้น กว่าร้อยละ 40 เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่สูบบุหรี่ด้วย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ก็คือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อน เด็กจึงจะทำตาม นอกจากนี้แล้วยังควรสอดส่องคนอื่นไม่ให้มาสูบบุหรี่ในสนามเด็กเล่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก รวมไปถึงสถานที่ปลอดควันบุหรี่อื่น ๆ อีกทั้งยังไม่ควรพาเด็กเข้าไปในสถานที่ที่มีการอนุญาตให้สูบบุหรี่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร หรือสถานที่ใด ๆ หากลูกๆ เริ่มไปสูบบุหรี่เข้าแล้ว อยากช่วยให้เข้าเลิกก็ต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันคือ 1. ชวนลูกคุยทำความเข้าใจถึงผลร้ายของการสูบบุหรี่ อีกทั้งการสูบบุหรี่ก่อนอายุ 18 ปีนั้นก็เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายด้วย 2. ดูแลและให้เวลาลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความสนิทสนมเปิดโอกาสให้ปรึกษาได้ทุกเรื่อง และควรเปิดโอกาสให้ลูกได้รับรู้ถึงปัญหาและผลร้ายของยาเสพติด เลือกใช้ภาษาที่ดี ไม่ใช่การตำหนิหรือดุด่า 3. จับตาดูบ้างว่าเพื่อนในกลุ่มของลูกใช้สารเสพติดหรือไม่ 4. สร้างค่านิยมที่ดีให้กับลูก และสอนลูกว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องของคนเท่ แต่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ 5. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น จะพัฒนาความรักความอบอุ่นในครอบครัว ระหว่างพ่อแม่และลูก การมีครอบครัวเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจจะช่วยให้เด็ก ๆ ห่างไกลยาเสพติดได้อย่างแน่นอนค่ะ หากในวันนี้มีสมาชิกในครอบครัวยังสูบบุหรี่อยู่ ควรพากันเลิกเถอะค่ะ เพื่อโลกที่สดใส ไร้ควันพิษ เพื่อชีวิตของคนที่เรารักทุกคนด้วยค่ะ  

  • บริจาคโลหิต ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกันนะ

    บริจาคโลหิต ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกันนะ

    บริจาคโลหิต ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกันนะ ขออนุโมทนาสาธุด้วยนะคะสำหรับคนที่คิดอยากบริจาคโลหิตเพื่อเป็นกุศลต่อตนเองและต่อผู้อื่น สำหรับผู้ที่ไม่เคยบริจาคมาก่อนเลย ควรเตรียมร่างกายตนเองให้พร้อมก่อนดังต่อไปนี้ค่ะ ขั้นแรกก็ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์หรือไม่ ได้แก่ 1. มีน้ำหนักตัว 45 กก. ขึ้นไปและมีอายุ 17-60 ปีบริบูรณ์ หากบริจาคครั้งแรกอายุต้องไม่เกิน 55 ปี 2. มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว หรือป่วยไข้ไม่สบายหรือกินยาอะไรอยู่ 3. ไม่เสพสารเสพติดหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 4. ไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ ไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้บุตรในระยะเวลาหกเดือนที่ผ่านมา ในส่วนของการเตรียมตัวก่อนไปบริจาคโลหิตให้ปฏิบัติตัวดังนี้นะคะ – ทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมธาตุเหล็กเข้าไว้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้พลาสม่าหรือน้ำเหลืองผิดปกติหรือเป็นสีขาวขุ่นได้ ซึ่งจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ – งดเหล้า เบียร์ ไวน์ แอลกอฮอล์ต่าง ๆ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค – นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่องในคืนก่อนวันบริจาค – ดื่มเครื่องดื่ม 3-4 แก้ว เพื่อเพิ่มโลหิตในร่างกาย ป้องกันอาหาร มึนงง อ่อนเพลีย วิงเวียนหัว…

  • สูบบารากู่ อันตรายกว่าสูบบุหรี่หลายเท่า!

    สูบบารากู่ อันตรายกว่าสูบบุหรี่หลายเท่า!

    สูบบารากู่ อันตรายกว่าสูบบุหรี่หลายเท่า! เดี๋ยวนี้มีการสูบยาสูบที่มาจากฝั่งตะวันออกกลางมากขึ้นในหมู่วัยรุ่นเมืองไทย เรียกว่า “บารากู่” มักเสพกันตามผับหรือสถานบันเทิงต่าง ๆ ชาวอาหรับเรียกว่า ฮุกก้า หรือชีช่า นี้เป็นอุปกรณ์การสูบยาเส้นที่มีมาหลายพันปีแล้วมักนำเข้ามาจากประเทศอียิปต์หรืออินเดีย วิธีการสูบบารากู่นั้นนิยมใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียวล้อมวงกันหลายคน เตาบารากู่นั้นจะมีส่วนด้านบนสุดใช้วางยาเส้น ซึ่งมีส่วนผสมของใบยาสูบ มีรสหวานจากน้ำผึ้งหรือกากน้ำตาล หรือผลไม้แห้งจึงทำให้มีกลิ่นหอมด้วย มักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยด์ใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้าในการเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ำด้านล่างสุดซึ่งเป็นภาชนะที่เป็นแก้วสวยงาม ทำให้ผู้สูบเชื่อว่าการสูดควันผ่านน้ำนี้มาแล้วจะปลอดภัย ไม่มีสารพิษเพราะน้ำได้ดักเอาไว้หมด แต่ความจริงแล้วการสูบยาเส้นผ่านน้ำอย่างบารากู่นั้นอันตรายกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไปเสียอีก เพราะจะได้รับทาร์และนิโคตินเป็นจำนวนที่มากกว่า อีกทั้งการสูบผ่านน้ำผสมกับความหอมหวานของผลไม้ต่าง ๆ ทำให้ควันจางลง ผู้สูบจึงสูบได้ลึกและมากขึ้น นานขึ้น หากสูบเป็นเวลา 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็นจำนวน 36 เท่า ได้รับนิโคติน 70 เท่า ได้รับคาร์บอนมอนนอกไซด์ 15 เท่า เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่เพียงมวนเดียว จึงอันตรายมาก อีกทั้งการสูบบารากู่นั้นผู้สูบจะได้รับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ซึ่งจะทำให้ปวดหัว ตาพร่ามัว ใจสั่น เวียนหัว และเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากกว่าผู้สูบบุหรี่ทั่วไป กระตุ้นให้เกิดการตีบตัวของหลอดลม เพิ่มการหลั่งกรด ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร แล้วยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดแข็งตัว และโรคเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจได้อีก รวมไปถึงยังทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้ด้วย วัยรุ่น นักศึกษาและคนทำงานในช่วงต้นหันมาสูบบารากู่กันมากขึ้นเพราะเข้าใจว่าอยากเท่…

  • กินดีไม่มีตายเร็ว

    กินดีไม่มีตายเร็ว

    กินดีไม่มีตายเร็ว เดี๋ยวนี้คนเรายิ่งโดยเฉพาะคนเมืองด้วยแล้วมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมาก จึงทำให้รูปแบบการกินอาหารเปลี่ยนไปด้วย พิถีพิถันน้อยลง พึ่งการกินอาหารนอกบ้าน ซื้ออาหารถุง อาหารสำเร็จรูปกินกันมากขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง ทานขนมหวานที่น้ำตาลและไขมันสูงมากขึ้นแทนกินผลไม้ ร่างกายจึงได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน รวมไปถึงเกลือมากเกินความจำเป็น อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่บางคนก็กินผักไม่เป็น พ่อแม่ก็ไม่มีเวลาปลูกฝัง ทั้งบางคนก็ไม่ยอมกินเองด้วย เด็กก็โตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่กินผัก นั่งเล่นอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ กินขนมแทนข้าว วัน ๆ ไม่ออกกำลังกาย โตมาก็มีปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เหมือนผู้ใหญ่ทั้ง ๆ ที่อายุแค่วัยรุ่น ดังนั้นพ่อแม่จึงควรฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับลูก และปลูกฝังให้เด็กได้กลับมาใช้ชีวิตให้สมกับการเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ให้ออกกำลังกายบ้างไม่ใช่นั่งหน้าจออย่างเดียว และพ่อแม่ก็ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกด้วย ในด้านของอาหารควรเลือกอาหารกินให้ดีและห่างไกลโรคดังต่อไปนี้ – กินเป็นเวลา กินให้ครบสามมื้อ มื้อเช้ากินให้อิ่ม กลางวันกินพอประมาณ มื้อเย็นควรเลือกทานอาหารเบาๆ โดยให้ห่างจากเวลานอนอย่างน้อยสามชั่วโมง – เลือกทางอาหารตามฤดูกาล เพราะจะปลอดภัยจากสารเคมีมากกว่าอาหารนอกฤดูกาล หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงรสให้หวานมันเค็มมาก – กินให้พออิ่มและครบถ้วนทั้งห้าหมู่ในแต่ละมื้อ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรเพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ให้มากขึ้น อาจกินผลไม้จำพวกชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิลก่อนอาหาร และกินให้ช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด ๆ…

  • สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

    สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

    สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนั้น เกิดจากการที่สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียงจึงสูญเสียการควบคุมร่างกายไป มีสถิติพบว่ามีคนเกิดอาการเช่นนี้ถึงราว 3 ในทุกสองชั่วโมงและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย อาการของสมองขาดเลือดชั่วคราวนั้นอาจมีเพียงอาการเดียวหรือมากกว่าก็ได้ แต่จะมีอาการที่สังเกตและจดจำได้ง่ายดังตัวย่อว่า FAST นี้ ได้แก่ Face ดูที่ใบหน้า จะเห็นว่าเวลายิ้มมุมปากข้างใดข้างหนึ่งตกลงหรือดื่มน้ำแล้วน้ำไหลออกมุมปากข้างใดข้างหนึ่งควบคุมไม่ได้ Arms ดูที่ท่อนแขน จะยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ Speech ดูที่การพูด มีปัญหาทางด้านการพูดแม้แต่ประโยคง่าย ๆ ก็พูดให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ Time สังเกตที่เวลา หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลภายในสามชั่วโมง การจำหลักเหล่านี้จะสามารถสังเกตอาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองและจะได้นำตัวเองหรือผู้ป่วยใกล้ชิดส่งแพทย์ได้ทันเวลา จะสามารถช่วยรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยได้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงได้มากที่สุด โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ 1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ตามส่วนสูงและโครงร่าง มีเกณฑ์อยู่ว่าผู้ใหญ่ควรมีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI อยู่ในช่วงระหว่าง 18.5-22.9 2. งดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวาน มีไขมันมาก หรือเค็มจัด กินผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน และอาหารพวกธัญพืชเพิ่มขึ้น 3. ตรวจเช็คตัวเองว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงหรือโรคอื่นหรือไม่แล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา 4. ออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วันขึ้นไป 5.…

  • เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล

    เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล

    เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล สาเหตุที่บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่นั้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็ง หัวใจจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้อย่างถาวร จึงเหลือเม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงที่กระด้าง ทำให้ผนังหลอดเลือดเป็นแผล หากเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทำให้หัวใจขาดเลือด ยิ่งหากมีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน หรือไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนี้ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ดู ได้ผลอย่างแน่นอนค่ะ 1. ต้องตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาดเสียก่อน 2. ขอกำลังใจจากคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว 3. ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อยวันละสองลิตร จะช่วยกำจัดนิโคตินจากร่างกาย 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกชากาแฟอื่น ๆ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ด้วย 5. หากรู้สึกง่วงนอน อ่อนพลีย หงอยเหงา ไม่สบายตัวควรอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว จะทำให้สดชื่นขึ้นแล้วค่อยไปหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ 6. ไม่ควรทานอาหารอิ่มเกินไปหรืออาหารที่มีรสจัดจะทำให้อยากบุหรี่เพิ่มขึ้น 7. ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แทนอาหารที่ทานอยู่ประจำ 8. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟีนออกมา

  • หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…

  • ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน

    ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน

    ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน ญาติ ๆ และผู้ดูแลคนป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น มักจะมีความเครียดกับการดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ ก่อนที่สุขภาพจิตจะแย่ไปกว่านี้ลองมาดูแนวทางการบรรเทาความเครียด และสร้างกำลังใจกันดูหน่อยดีไหมคะ 1. ทำใจยอมรับและทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำหรือเรียกร้องความสนใจแต่อย่างใด เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมองฝ่อลง จึงทำให้ผู่ป่วยแสดงพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น โดยที่ผู้ป่วยเองก็ไม่ได้ตั้งใจด้วย 2. อย่าไปโกรธตอบผู้ป่วย อย่างที่บอกไปข้อแรกแล้ว ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะแสดงออกมาเช่นนั้น จะโกรธหรือหงุดหงิดไปเพื่ออะไร 3. หากเหนื่อยกายเหนื่อยใจนักก็หาคนมาสับเปลี่ยนบ้าง หากญาติ ๆ คนอื่นไม่ยอมเข้าใจก็ลองเอาคำแนะนำเกี่ยวกับคนไข้โรคอัลไซเมอร์ส่งให้เข้าอ่านทำความเข้าใจ ยิ่งหากเป็นบุพการีเคยเลี้ยงดูมาก่อน เขาก็น่าจะมาช่วยเหลือและตอบแทนบุญคุณบ้าง 4. ลองไปพบปะแลกเปลี่ยนกับผู้ดูแลอัลไซเมอร์คนอื่น ๆ เพื่อหากำลังใจและสร้างจิตใจที่เข้มแข็งให้กับตัวเอง การให้กำลังใจกันและกันลงความเครียดไปได้ แล้วยังได้เทคนิคการดูแลผู้ป่วยมาแลกเปลี่ยนกันไปด้วย 5. ผ่อนคลายความเครียดบ้าง ด้วยการเล่นกีฬา ทำงานอดิเรก ฝึกการหายใจ เล่นโยคะ หรือมวยจีนและทำสมาธิด้วย ก็จะช่วยได้มาก 6. หากทำทุกอย่างแล้วความเครียดก็ยังไม่หายไป หรือยิ่งมีอาการเครียดมากขึ้น รวมไปถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย จนส่งผลให้การใช้ชีวิตและการทำงานเสียลงไป ควรรีบไปขอความช่วยเหลือหรือขอรับการปรึกษาจากจิตแพทย์ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทุกคนนะคะ ^__^