Author: pure
-
เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เอดส์ ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งควบคุมได้
เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เอดส์ ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งควบคุมได้ แม้ว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์และเสียชีวิตจากโรคเอดส์จะเริ่มลดลงแล้วตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา แต่ปัจจุบันนี้กลับพบว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 21 ปี กลับมีการติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นชายรักชาย และกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ทั้ง ๆ ที่การป้องกันโรคเอดส์นั้นก็เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แต่เพราะความประมาท ความคึกคะนอง ความมึนเมา และความคิดว่าเอดส์เป็นเรื่องไกลตัว กลับเป็นความคิดอันตรายที่ทำให้เกิดผู้ติดเชื้อเอดส์มากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากจะมีเพศสัมพันธ์ให้ปลอดภัยและมีความสุขอย่างเต็มที่แล้ว การใช้ถุงยางอนามัยก็เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ป้องกันการติดเชื้อเอดส์ได้ แล้วยังป้องกันการท้องไม่พึงประสงค์ สมัยนี้ถุงยางอนามัยถูกผลิตมาให้มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น การใช้ถุงยางจึงเป็นการเพิ่มสุขได้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้แล้วการป้องกันเอดส์ที่ดีก็คือ ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่นด้วย เพราะเอดส์สามารถติดต่อได้ทางเลือดเช่นกัน ในส่วนของยาต้านไวรัสในปัจจุบันนี้ สามารถระงับไม่ให้เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มได้ แต่ต้องกินยาอย่างตรงเวลาและสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นเชื้อจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว และเชื้อดื้อยาได้ ทำให้การรักษาต่อไปยุ่งยากมาก หรือไม่มียาที่รักษาได้อีกเลย ผู้ที่ติดเชื้อนั้นกว่าร้อยละ 90 หากมีวินัยในการกินยานานเกิน 6 เดือนแล้ว จะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส HIV ในเลือด มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น ไม่เจ็บป่วยและไม่แพร่เชื้อกับผู้อื่นรวมทั้งคู่นอนของตนเองด้วย ผู้ติดเชื้อที่เข้ามารับการวินิจฉัยและรักษาเร็วก็ยิ่งมีอายุยืนยาวได้กว่า 30-50 ปี ซึ่งต่างจากผู้ติดเชื้อที่ไม่รักษา อาจมีชีวิตต่อไปได้อีกแค่ 7…
-
โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก
โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก ปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงและเฉียบพลัน อาจทำให้เด็กเล็กถึงกับเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันการณ์ ซึ่งแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมมากเป็นอันดับหนึ่ง คือโดยเฉลี่ยเด็กจะเสียชีวิตทุก ๆ 20 นาทีเลยทีเดียว เรียกว่าน่ากลัวไม่น้อยเลย สาเหตุของโรคนี้เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ผู้มีเจ็บป่วยอยู่แล้ว มีภูมิต้านทานต่ำ คนชรา และเด็กทารก มักจะติดเชื้อได้ง่าย หากคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย หรืออยู่ในที่ที่แออัดจนสูดหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งในอากาศเข้าไป อาการของโรคก็คือมีไข้สูง ไอหนัก หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ถ้าเป็นมากขึ้นจะหายใจหอบ มีเสียงวี๊ด ๆ หรือหายใจหอบแรงจนซี่โครงบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้า และปากซีดคล้ำขียว ซึมหรือกระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคนี้ก็คือควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคเข้าไว้ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับคนไข้หรือเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือสถานที่แออัด ที่อาจติดเชื้อได้ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ตลอดเวลาในฤดูหนาว หากเป็นเด็กทารกควรเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะได้รับภูมิต้านทานผ่านทางนมแม่มาด้วย ในส่วนของเด็กเล็กที่เริ่มเป็นหวัด ผู้ปกครองควรเอาใจใส่บุตรหลานและสังเกตอาการ โดยปกติหวัดทั่วไปเด็กจะหายดีภายในหนึ่งอาทิตย์ โดยให้เด็กกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อมิให้ขาดน้ำ เสมหะจะได้อ่อนตัวขับออกง่ายด้วย หากมีไข้สูงให้ยาลดไข้และเช็ดตัวบ่อย ๆ ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับมาก ๆ สอนเด็กให้ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม และสอนให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ…
-
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมคืออะไร?
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมคืออะไร? การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมนั้น จะมองว่าการเจ็บป่วยหรือความบกพร่องทางสุขภาพที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จะเกี่ยวพันกับส่วนอื่น ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มาปฏิสัมพันธ์กับคน ๆ นั้น ซึ่งหลักการของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมก็คือ 1. การดูแลสุขภาพองค์รวม จะให้คุณค่าของคำว่าสุขภาพ ว่าคือการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาสุขภาพให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่การไม่เจ็บป่วย 2. สุขภาพของเราจะเป็นแบบที่เราใช้ชีวิต การบริโภคสิ่งใดทั้งทางร่างกายและจิตใจ จะเป็นตัวกำหนดสุขภาพกายและสุขภาพใจของคน ๆ นั้น 3. การดูแลสุขภาพองค์รวม จะเน้นการพัฒนาให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ทบทวนพฤติกรรมที่เคยใช้ชีวิตมาในอดีตที่อาจเป็นผลต่อสุขภาพในปัจจุบัน รวมทั้งพิจารณาพฤติกรรมตนเองในแต่ละวันที่อาจมีผลต่อสุขภาพในอนาคตด้วย 4. การดูแลสุขภาพแบบนี้จะเน้นคุณค่าต่อวิถีการดำรงชีวิต ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ความรับผิดที่ผู้ป่วยจะพึงมีต่อตนเอง และให้ผู้ป่วยได้ดูแลตนเองให้มีสุขภาวะที่สมดุลและสมบูรณ์ในทุกด้าน 5. เมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้น การแพทย์แบบองค์รวมจะใช้หลักการในการแลกเปลี่ยนเรื่องการรักษาและดูแลสุขภาพกับคนไข้ ด้วยการเยียวยาแบบธรรมชาติ และพิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ทั้งตัวของผู้ป่วยเองและสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องอันเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยด้วย การแพทย์แบบองค์รวมนี้เป็นการแพทย์ทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่เป็นศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย รักษา และป้องกันโรค มีหลายโรคร้ายแรงที่การแพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่หาย แต่เมื่อผู้ป่วยได้เข้ามาใช้วิธีการแพทย์แบบทางเลือกรักษา ก็ทำให้อาการดีขึ้นได้ ปรับชีวิตให้เข้ากับธรรมชาติได้มากขึ้น อาการจึงดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งได้แก่การดูแลในเรื่องของอาหารและโภชนาการ การคลายความเครียด…
-
ล้างผัก ลดพิษได้เพียบ
ล้างผัก ลดพิษได้เพียบ ทั้งผักและผลไม้ต่างก็เป็นอาหารที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ทั่วไปแล้วผักผลไม้ที่ขายตามท้องตลาดนั้น มักจะฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแทบทั้งนั้น สารพิษก็มักตกค้างที่ผิวนอกและมีบางส่วนที่แทรกซึมลงไปในเนื้อและผักชั้นใน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นอันตรายมาก ทางที่ดีก็ควรเลือกทานผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษจะดีกว่า แต่หากไม่สามารถเลือกได้ กับทั้งไม่ไว้วางใจ ลองใช้วิธีล้างผักดังต่อไปนี้จะลดสารพิษได้อีกเพียบเลยค่ะ 1. ล้างด้วยน้ำสะอาด ทำได้โดยการล้างผักด้วยน้ำสะอาดก่อนหนึ่งรอบ แล้วค่อยเด็ดหรือแกะผักเป็นกาบ ๆ ใบ ๆ ออกมาแล้วแช่น้ำไว้นาน 15 จะลดสารพิษได้ราว ๆ ร้อยละ 7-33 2. วิธีนี้ก็ล้างด้วยน้ำสะอาดเช่นเดียวกัน แต่ให้ล้างโดยการเด็ดเป็นกาบ ๆ แล้วใส่ตะกร้าโปร่งไว้ เปิดน้ำก๊อกให้ไหลแรงพอประมาณ ให้น้ำก๊อกไหลผ่านผักทุกใบ ใช้มือช่วยกวาดคลี่ผักไปด้วย จะลดสารพิษได้มากกว่าครึ่ง สำหรับผักเปื้อนดินให้แช่น้ำทิ้งไว้ดินจะนิ่มแล้วล้างออกได้ง่ายขึ้น ผักที่มีหนอนไช เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาดให้แช่น้ำเกลือไว้สักครู่ ใช้น้ำมาก ๆ หน่อย หนอนแมลงเหล่านั้นจะลอยออกมาในน้ำเอง 3. ล้างผักด้วยน้ำร้อนจะช่วยลดสารพิษได้ผักได้กว่าร้อยละ 50 เช่นกัน 4. ผสมผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตในน้ำสะอาดด้วยอัตราส่วน ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง แช่ผักทิ้งไว้…
-
ระวังลูกอ้วนคอดำ อาจเป็นเบาหวานได้นะ
ระวังลูกอ้วนคอดำ อาจเป็นเบาหวานได้นะ เดี๋ยวนี้โรคเบาหวานนั้นไม่ได้เป้นกันแต่เฉพาะในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุแล้ว เดี๋ยวนี้เด็กก็เป็นเบาหวานกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย สำรวจมาล่าสุดพบว่าเด็กที่อายุแค่สามขวบก็เป็นเบาหวานแล้วด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะโรคเบาหวานนี้จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง อายุสั้นลง พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรเฝ้าระวังดูแล และปลูกฝังนิสัยอันดีแก่ลูก ๆ เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาด้วย เพราะเด็กสมัยนี้ถูกเลี้ยงให้สบายเกินไปนั่นเอง บางคนกลับบ้านไม่ต้องแตะต้องงานบ้านอะไรเลย พ่อแม่ทำให้ทุกอย่าง ตัวเองกลับมาจากโรงเรียนก็นั่งหน้าทีวี หรือไม่ก็เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ กินขนมกรุบกรอบไปด้วย ดื่มน้ำอัดลมไปด้วย ไม่ไปวิ่งเล่นออกกำลังกาย หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือพ่อแม่เองก็ไม่ใส่ใจจะพาลูกไปเหมือนกัน ไม่เป็นตัวอย่างของผู้ที่มีสุขภาพที่ดีให้ลูกเห็นเลย ดังนั้นการปรับปรุงนอกจากจะช่วยให้น้องได้เปลี่ยนพฤติกรรมหันดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรปรับพฤติกรรมเพื่อชี้นำลูกด้วย ด้วยการขยับร่างกายให้มากขึ้น พากันไปออกกำลังกาย เล่นเกมส์หรือดูทีวีให้น้อยลง ทานขนมให้น้อยลง ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น นอนหัวค่ำ ตื่นเช้า ลดการกินจุบจิบและอาหารไม่มีประโยชน์ไปด้วย ในส่วนของพ่อแม่ที่มีลูกอ้วนไปแล้ว ควรหันกลับมาดูแลเอาใจใส่อาหารการกินของลูกให้มากกว่าเดิม การลดน้ำหนักให้เด็กนั้น ควรให้กินอาหารให้ครบห้าหมู่ แต่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอดไขมันสูง อาหารหวานๆ เค็ม ๆ กรอบ ๆ อาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย รวมไปถึงน้ำหวาน น้ำอัดลมด้วย แล้วพาลูกไปปั่นจักรยานหรือออกกำลังกายให้มากกว่าเดิม จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ และให้สังเกตที่หลังคอและรักแร้ของลูก หากมีรอยดำ…
-
9 ข้อพัฒนา E.Q. ในที่ทำงาน
9 ข้อพัฒนา E.Q. ในที่ทำงาน E.Q. หรือ Emotional Quotient ก็คือความฉลาดทางอารมณ์นั่นเอง การจะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้นขึ้นอยู่กับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้ดีด้วย วันนี้จะขอนำเสนอเคล็ดลับในการพัฒนาสิ่งนี้เพื่อการทำงานอย่างมีความสุขมาฝากคุณผู้อ่านกันค่ะ 1. ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง คือรู้ว่าตนเองกำลังรู้สึกอะไร และรู้สึกอารมณ์ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงอย่างซื่อสัตย์ ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ เมื่อผู้อื่นพูดถึงก็สามารถยอมรับมาปรับปรุงได้ 2. รับผิดชอบต่ออารมณ์ด้านลบของตนเอง เวลาที่เกิดความหงุดหงิด ท้อแท้ ไม่พอใจขึ้น เราควรวิเคราะห์ให้ดีว่าเกิดจากอะไร ด้วยเหตุผล ไม่ควรคิดด้วยอคติของตนเองหรือจากประสบการณ์เดิมของตน 3. จัดการกับอารมณ์ได้ สามารถคลี่คลายอารมณ์ด้านลบไปได้ ไม่จมอยู่กับอารมณ์เดิม หรือลองเบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่นดู 4. ใช้อารมณ์ให้เป็นประโยชน์ ใช้อารมณ์ปรับแต่งและทำให้เป็นประโยชน์มากขึ้น คิดในด้านบวกเมื่อต้องพบกับปัญหาในการทำงาน 5. มองโลกในแง่ดี มองหาข้อดีของงานที่ทำ ชื่นชมความดีของผู้อื่น ลดความเครียดและอคติในใจ จะทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุขได้ 6. ฝึกสมาธิเพื่ออยู่กับปัจจุบัน รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ตัวว่ารู้สึกอย่างไรอยู่ อาจเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าออก จะช่วยให้ใจสงบลงและแก้ปัญหาได้ดีขึ้น 7. มีความตั้งใจให้ชัดเจนว่าต่อนี้ไปจะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ ตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้ชัดเจน 8. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง จะสำเร็จในด้านการงานและการเรียนมากกว่าเดิม 9. กล้าทดลองในสิ่งที่ยากกว่าเดิม เพิ่มโอกาสการเรียนรู้สิ่งใหม่…
-
วิธีง่าย ๆ ในการดูแลสุขภาพ ป่วยยาก อายุยืน
วิธีง่าย ๆ ในการดูแลสุขภาพ ป่วยยาก อายุยืน ความจริงแล้วการดูแลสุขภาพให้มีอายุยืนยาว และเจ็บป่วยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่คิดไว้มากนะคะ แต่ที่คนเราป่วยกันอยู่ทุกวันนี้เพราะใช้ชีวิตสวนกระแสธรรมชาติมากเกินไป สะดวกสบายมากเกินไป จนลืมใช้กล้ามเนื้อและร่างกายของตนเอง กินก็ขาด ๆ เกิน ๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ กับทั้งยังสะสมแต่ความเครียดไว้จนล้นอีก ตอนนี้ยังไม่สายที่จะปฏิวัติตัวเองใหม่นะคะ เพราะไม่ใช่แค่อายุยืนเท่านั้น แต่เมื่อแก่ตัวลงจะได้ปลอดจากโรคภัยที่จะทำให้ตัวเองทุกข์ทรมานอีกด้วยค่ะ 1. ทานอาหารที่มีคุณค่า มีความหลากหลายไม่ซ้ำซาก และควรทานผักผลไม้ให้มากไว้ทุกมื้อ 2. ออกกำลังกายอยู่เสมอ หมั่นขยับเขยื้อนร่างกาย ที่ไหนเดินไปได้ก็เดิน หรือปั่นจักรยานไป พึ่งพาหนะให้น้อยลง จะทำให้จิตใจเบิกบาน ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายความเครียดได้ ไม่อ้วนด้วย ช่วยให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น 3. สลายความเครียดและสร้างความสงบให้จิตใจด้วยการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หัดรำมวยจีน เดินจงกรมก็ได้ 4. หลีกให้ห่างอบายมุข ยาเสพติด สุรา บุหรี่ ทุกชนิด เพราะบั่นทอนสุขภาพ 5. ใช้ชีวิตอย่างมีสติ อย่าเอาตัวเองไปเสี่ยงกับอุบัติเหตุ 6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และดูแลตนเองในส่วนที่มีปัญหาก่อนจะลุกลาม และเพื่อป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ก็ควรปฏิบัติตัวดังนี้…
-
อาการท้องผูกและการดูแลรักษาตัวเอง
อาการท้องผูกและการดูแลรักษาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย หรือการกินอาหาร ต่างก็มีความสำคัญพอ ๆ กัน เพราะแม้เราจะกินอาหารดี ๆ เข้าไปแล้ว แต่ระบบย่อยอาหารทำงานไม่เป็นปกติ กากอาหารมีการคั่งค้างอยู่ในลำไส้นาน ๆ ก็จะเกิดการเน่าเสีย และกลายเป็นสารพิษได้ ยิ่งคั่งค้างอยู่ในร่างกายนานเท่าใด ร่างกายก็จะดูดซึมพิษเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบต่าง ๆ มากเท่านั้น จนอาจทำให้ร่างกายมีความผิดปกติต่าง ๆ นาๆ ได้ การที่อุจจาระค้างอยูในลำไส้นั้น แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้รู้สึกอึดอัดแล้ว แต่ถ้าเป็นเวลายาวนาน ก็จะจับตัวแข็งทำให้ถ่ายออกมายากขึ้น ก็คืออาการของท้องผูกนั่นเอง การขับถ่ายเป็นเรื่องเฉพาะตัว มีความฉี่และลักษณะของอุจจาระที่ไม่เท่ากัน เพราะแต่ละคนจะมีพฤติกรรมการกินอาหาร ดื่มน้ำ และออกกำลังกายที่แตกต่างกันไป บางคนถ่ายทุกวัน บางคนวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวันก็ยังมี แต่หากใครที่ขาดการดูแลตนเอง อาการท้องผูกก็มาเยือนเอาให้ทรมานได้อยู่เหมือนกัน ดังนั้นควรดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งสามารถทำได้โดย 1. ทานผักและผลไม้ให้มาก เพราะจะมีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการดูดซักน้ำในลำไส้ใหญ่ไว้ เพิ่มปริมาณและเพิ่มความลื่นให้กับอุจจาระทำให้ถ่ายได้ง่าย 2. ดื่มน้ำวันละสองลิตรขึ้นไปต่อวัน จะทำให้มีน้ำที่พอเพียงต่อการหล่อเลี้ยงอุจจาระให้ลื่น อุจจาระที่อุ้มน้ำดีจะพองตัว นิ่ม เหลว และขับถ่ายออกมาได้ง่ายด้วย 3. ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้ทำงาน จนบีบขับอุจจาระออกมาได้ง่ายมากขึ้น…
-
สัญญาณอันตรายของโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต!
สัญญาณอันตรายของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต! โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมองนั้น นับเป็นโรคที่อันตรายและเป็นสาเหตุของการตายเป็นลำดับต้น ๆ ของคนไทย แม้จะรอดมาได้แต่ก็ต้องอยู่อย่างพิการ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีกรรมพันธุ์หรือญาติสายตรงเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ไม่ยอมออกกำลังกาย อ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่ และมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว ผู้ที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองมักจะสัญญาณเตือนได้แก่ – อ่อนแรงบริเวณใบหน้า แขนขาแบบฉับพลัน และมักจะเป็นข้างเดียวของร่างกาย – จู่ ๆ ก็พูดไม่รู้เรื่อง สับสน พูดลำบาก – ตามัว หรือมีปัญหาการมองเห็นทันทีอาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ – มึนงง เสียสมดุลในการเดินแบบฉับพลันทันด่วน หากพบเห็นผู้ใดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นแค่ข้อเดียวหรือหลายข้อรวมกัน ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที และควรมาให้ทันภายใน 3 ชั่วโมงที่มีอาการ ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดจากภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต และหายได้ ในส่วนของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนี้ มีแนวทางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ควบคุมความดันโลหิต ระดับของน้ำตาล และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-4…
-
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากของโรคถุงลมโป่งพองก็คือ บุหรี่นั่นเอง มักเกิดโรคนี้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดนานกว่า 10-20 ปี ขึ้นไป พิษจากบุหรี่จะทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอดทีละน้อยไปเรื่อย ๆ ในที่สุดถุงลมปอดจะพิการ คือไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ หอบเหนื่อยง่าย และมักติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว การได้รับมลพิษในอากาศ จากควันหุงต้ม การก่อไฟในสถานที่ปิดทึบก็ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน อาการของผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาหลายปีนั้นจะมีอาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตื่นนอนตอนเช้าจะไอมีเสมหะหรือขากเสมหะในลำคอตั้งแต่ตื่นนอน ไอมีเสมหะเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี ส่วนมากมักจะนึกว่าเป็นเรื่องปกติจึงไม่ใส่ใจดูแล จนเริ่มไอถี่ขึ้นตลอดวันและมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกเสมหะจะมีสีขาว และกลายเป็นสีเขียวเหรือเหลือง มีไข้หรือหอบเหนื่อยจากการติดเชื้อ หากยังไม่หยุดสูบบุหรี่อาการจะยิ่งหนักไปเรื่อย ๆ เหนื่อยง่าย หอบแม้แต่เวลาเดิน หรือพูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระยะหลังหากอาการกำเริบหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในระยะที่รุนแรงนั้น ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารผ่ายผอม น้ำหนักลด หอบเหนื่อยและทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต ต้องพบแพทย์และใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง หากในระยะแรกเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดก็จะทำให้โรคไม่ลุกลามมากนัก แต่หากไม่หยุดสูบก็อาจลุกลามรุนแรง และมักเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หายใจล้มเหลว ปอกอักเสบหรือปอดทะลุ โดยมากจะเสียชีวิตกว่าร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หากตรวจพบว่าเป็นโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ 1. พบแพทย์เพื่อรับยาและทานยาให้สม่ำเสมอ…