Author: admin

  • รอบรู้เรื่องฟันปลอม

    รอบรู้เรื่องฟันปลอม ข้อมูลเกี่ยวกับฟันปลอม ฟันปลอม ถูกทำขึ้นเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อช่วยให้ผู้ใส่ฟันปลอมเคี้ยวอาหาร พูดออกเสียงได้ใกล้เคียงกับปกติ และยังช่วยเพิ่มความสบายใจเมื่อต้องเข้าสังคมกับผู้อื่น ฟันปลอมชนิดถอดได้ในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ 1.ฟันปลอมทั้งปาก ฟันปลอมบางส่วนซึ่งทำจากวัสดุที่ต่างกันดังนี้ 2.1 ฟันปลอมบางส่วนชนิดทำจากอะคริลิก 2.2 ฟันปลอมบางส่วนชนิดโครงโลหะ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ฟันปลอมถอดได้ชนิดใด ในช่วงแรกผู้ใส่อาจเกิดความรู้สึกไม่สบาย รู้สึกเจ็บหรือไม่เหมือนฟันธรรมชาติ แต่เมื่อคุ้นเคยกับการใส่ฟันปลอมแล้ว จะพบว่าหลายคนมีความสุขกับการรับประทานอาหารหลากหลายชนิด อย่างไรก็ตามผู้ใส่ฟันปลอมอาจพบปัญหาบางประการ เช่น เศษอาหารเข้าไปติดใต้ฟันปลอม การขยับหรือการเลื่อนของฟันปลอม ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงปัญหาและวิธีป้องกันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใส่ฟันปลอมเพื่อให้การใช้ฟันปลอมเป็นไปอย่างถูกสุขลักษณะและมีความเหมาะสมมากขึ้น ปัญหาที่อาจพบของผู้ใส่ฟันปลอม – มักพบว่ามีเศษอาหารเข้าไปติดใต้ฐานฟันปลอม ซึ่งอาจทำให้เหงือกระคายเคืองและรู้สึกเจ็บได้ ครีมติดฟันปลอม ช่วยให้ฟันปลอมเกาะติดแน่นกระชับกับเหงือก โดยครีมจะแผ่เป็นแผ่นบางๆ เพื่ออุดช่องว่างระหว่างฟันปลอมกับเหงือก ลดการสะสมของเศษอาหารใต้ฐานฟันปลอม ซึ่งเป็นสาเหตุของการระคายเคือง – มักไม่สามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายชนิด ครีมติดฟันปลอม ช่วยเพิ่มแรงกัดได้ และผู้ใส่ฟันปลอมสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายชนิดได้ – รู้สึกกังวลจากการที่ฟันปลอมอาจขยับหรือเลื่อนได้ในระหว่างรับประทานอาหารหรือพูดคุย ครีมติดฟันปลอม ช่วยลดปัญหาฟันปลอมหลุดและขยับไปมาระหว่างรับประทานอาหาร   ครีมติดฟันปลอมช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับอาหารจานโปรด ได้หลากหลายชนิดและช่วยคลายกังวลเมื่อต้องเข้าสังคมกับผู้อื่น ครีมติดฟันปลอม โพลิเดนท์ เพิ่มความสุขได้ดังนี้ ลดการสะสมของเศษอาหารใต้ฐานฟันปลอม ลดการระคายเคืองของเหงือก เพิ่มแรงกัด ทำให้รับประทานอาหารได้หลากหลาย…

  • ฟันผุ?

    ฟันผุคืออะไร ฟันผุเกิดจากกรดที่กัดกร่อนผิวฟันด้านนอก ซึ่งเป็นพื้นที่แข็งแรงของฟัน ซึ่งอยู่ด้านนอกนี้ เรียกว่า ผิวเคลือบฟัน (Enamel) ซึ่งกรดเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจาก คราบแบคทีเรีย หรือ พลัค (Plaque) ซึ่งเป็นแผ่นคราบเหลืองๆที่เกาะตามผิวฟัน เชื้อโรคในคราบแบคทีเรีย ย่อยสลายอาหารประเภทน้ำตาล จึงมีกรดเกิดขึ้น ทำลายผิวเคลือบฟัน เรียกว่า ฟันผุ หากไม่ได้รับการรักษาฟันผุจะลุกลามจนเป็นโพรง หากสงสัยว่ามีฟันผุ ควรรีบพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะให้การรักษาโดยการ อุดฟัน ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งการผุก่อนจะลุกลามจนกลายเป็นโพรงขนาดใหญ่ โดยปกติ ผิวของฟันจะถูกกรดแบคทีเรีย ทำให้อ่อนแอลงตลอดเวลา แต่อาจไม่ได้ลุกลามจนกลายเป็นฟันผุเสมอไป เนื่องจากยังมีปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยหยุดกระบวนการเกิดฟันผุและเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผิวฟัน ดังเช่น น้ำลาย (Saliva) ซึ่งมีแร่ธาตุ ที่มีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผิวฟัน ฟลูโอไรด์ (Fluoride) เป็นสารที่เติมในยาสีฟัน อีกทั้งในบางประเทศ มีเติมลงในน้ำประปาก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวฟันได้   ผิวเคลือบฟัน (Enamel) ชั้นแข็งด้านนอกของตัวฟัน รอยผุ (Cavities) รูในผิวเคลือบฟันเกิดขึ้นได้ที่ด้านบด เคี้ยวและซอกฟัน คราบแบคทีเรีย (Plaque) คราบเหนียวที่เกาะบนผิวฟัน สามารถสร้างกรดทำให้เกิดฟันผุได้   ข้อแนะนำเพื่อช่วยป้องกันฟันผุ…

  • แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างไร?

    แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างไร? วิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน วิธีการดูแลสุขอนามัยช่องปากที่ดีที่สุด คือ การแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันจะข่วยกำจัดคราบเหนียวๆที่เรียกว่า “คราบแบคทีเรีย (Plaque)” ซึ่งมักสะสมอยู่ตามเหงือกและฟัน คราบแบคทีเรียเหล่านี้ทำให้เกิดกรดและสารพิษที่ทำลายเหงือกและฟัน การใช้น้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดคราบแบคทีเรียได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์ หากไม่แน่ใจว่าควรเลือกน้ำยาบ้วนปากชนิดใด แนวทางที่จะช่วยการแปรงฟัน ให้ได้ผลสูงสุด – ควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที วันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูโอไรด์ ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับฟันหลัง ซึ่งมักจะมีคราบแบคทีเรียสะสมมาก – ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงนุ่ม แปรงอย่างนุ่มนวลเพื่อไม่ให้เกิดเหงือกร่น – เปลี่ยนแปลงสีฟันทุก 3 เดือน แปรงสีฟันที่ใช้งานมานานจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบแบคทีเรียลดลง – แปรงที่ลิ้น เพื่อลมหายใจสดชื่น กวาดแปรงอย่างนุ่มนวลจากโคนลิ้นมาทางด้านหน้า คุณวางแปรงสีฟันถูกตำแหน่งหรือยัง ? ข้อแนะนำสำหรับการแปรงฟันมีดังนี้ – ให้วางแปรงสีฟันเป็นมุม 45 องศากับขอบเหงือก แปรงฟันทีละ 2-3 ซี่ ขยับแปรงสั้นๆ ในแนวนอนแล้วปัดจากขอบเหงือกไปที่ปลายฟัน –…

  • ทำไมต้องจัดฟัน ???

    ทำไมต้องจัดฟัน 1. ทำไมต้องจัดฟัน การจัดฟัน (Orthodontics) ช่วยป้องกันและรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของขนาดของฟัน หรือขากรรไกร ซึ่งมีผลต่อโครงสร้างรูปหน้า และการบดเคี้ยวอาหาร เช่น ฟันยื่น ฟันห่าง ฟันซ้อน หรือฟันเก การจัดฟันจะช่วยให้การเรียงตัวของฟันและการสบฟันดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหาร รวมทั้งช่วยลดปัจจัยเสี่ยง ในการเกิดฟันผุ หรือโรคเหงือก อันเนื่องมาจากความยากลำบาก ในการทำความสะอาดฟันและเหงือกในบริเวณที่ฟันเรียงตัวผิดปกติ และที่สำคัญ ยังช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจจากการมีฟันที่เรียงตัวสวยงามอีกด้วย ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนจัดฟัน ต้องพบกับทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ปัญหาของฟันและกระดูกขากรรไกร ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 เอ็กซเรย์ฟันและกระดูกขากรรไกร พิมพ์ปากสร้างแบบจำลองฟัน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการรักษา ประเมินเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษา 2.2 ฟังการอธิบายผลการรักษาจากทันตแพทย์ ผู้ป่วยควรซักถามข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลข้างเคียงและผลของการรักษาให้ชัดเจนก่อนการตัดสินใจ 2.3 เตรียมสุขภาพช่องปากให้อยู่ในสภาพดีเยี่ยมก่อนการติดเครื่องมือจัดฟัน ฟันผุทุกซี่จะต้องได้รับการอุดให้เรียบร้อย รวมไปถึงการรักษา โรคเหงือก ขูดหินปูน และการเคลือบหลุมร่องฟันที่มีความเสี่ยงที่อาจจะผุ 2.4 ทันตแพทย์อาจพิจารณาถอนฟันบางซี่ออกในกรณีที่ฟันซ้อนเก หรือยื่นมา การถอนฟันจะทำให้มีช่องว่างเพื่อเรียงฟันที่ซ้อนเก หรือดึงฟันปรับลดมุมที่ยื่นให้ลดลง มักจะพิจารณาถอนฟันกรามน้อยที่อยู่ด้านหลังฟันเขี้ยว ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อติดเครื่องมือจัดฟัน 3.1 แปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ เพื่อรักษาความสะอาดของฟัน เครื่องมือจัดฟันและช่องปากให้ดี เพื่อลดการสะสมคราบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุในระหว่างการจัดฟัน…

  • ฟันผุ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง? และวิธีป้องกันฟันผุ

    ฟันผุ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง? และวิธีป้องกันฟันผุ

    ฟันผุ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง? และวิธีป้องกันฟันผุ ฟันผุคืออะไร – ฟันผุเกิดจากกรดที่กัดกร่อนผิวฟันด้านนอก ซึ่งเป็นพื้นที่แข็งแรงของฟัน ซึ่งอยู่ด้านนอกนี้ เรียกว่า ผิวเคลือบฟัน (Enamel) ซึ่งกรดเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจาก คราบแบคทีเรีย หรือ พลัค (Plaque) ซึ่งเป็นแผ่นคราบเหลืองๆที่เกาะตามผิวฟัน – เชื้อโรคในคราบแบคทีเรีย ย่อยสลายอาหารประเภทน้ำตาล จึงมีกรดเกิดขึ้น ทำลายผิวเคลือบฟัน เรียกว่า ฟันผุ หากไม่ได้รับการรักษาฟันผุจะลุกลามจนเป็นโพรง – หากสงสัยว่ามีฟันผุ ควรรีบพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะให้การรักษาโดยการ อุดฟัน ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งการผุก่อนจะลุกลามจนกลายเป็นโพรงขนาดใหญ่ – โดยปกติ ผิวของฟันจะถูกกรดแบคทีเรีย ทำให้อ่อนแอลงตลอดเวลา แต่อาจไม่ได้ลุกลามจนกลายเป็นฟันผุเสมอไป – เนื่องจากยังมีปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยหยุดกระบวนการเกิดฟันผุและเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผิวฟัน ดังเช่น น้ำลาย (Saliva) ซึ่งมีแร่ธาตุ ที่มีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผิวฟัน ฟลูโอไรด์ (Fluoride) เป็นสารที่เติมในยาสีฟัน อีกทั้งในบางประเทศ มีเติมลงในน้ำประปาก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวฟันได้   ผิวเคลือบฟัน (Enamel) ชั้นแข็งด้านนอกของตัวฟัน รอยผุ (Cavities)…

  • คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

    คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

    คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำริ  ติดกับสนามม้าราชกรีฑาสโมสร) 104 ถนนราชดำริ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร +66 2 256 4107 – 09 แฟ็กซ์ +66 2 254 7577 อีเมล์ aids@trcarc.org www.trcarc.org  เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30-18.00น. และ เสาร์ 7.30-15.00น. ปิดวันอาทิตย์และหยุดวันนักขัตฤกษ์ แผนที่คลีนิคนิรนาม การเดินทาง – รถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีราชดำริ ฝั่งสนามม้า เดินลงมาทางถนนสีลมประมาณ 800 เมตร จะเห็นแท้งค์ประปาสูงๆรั้วสภากาชาดไทย เดินเข้ามาตึกคลีนิคนิรนามจะอยู่ระหว่างแท้งค์ประปา – รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงสถานีสีลม เดินมาทางถนนราชดำริถึงสามแยกไฟแดงราชดำริ ก็จะเห็นแท้งค์ประปาสูงๆ คลีนิคนิรนามจะอยู่ฝั่งเดียวกับโรงพยาบาลจุฬาฯ…

  • LISTERINE เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคุณ… และคนที่คุณรัก

    LISTERINE เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคุณ… และคนที่คุณรัก

    LISTERINE เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคุณ… และคนที่คุณรัก หลายคนคิดว่าแปรงฟันดีแล้ว แต่ไปตรวจฟันทีไรก็ยังเจอปัญหาอยู่ นั่นเพราะคุณยังไม่ได้แก้ที่ “ต้นเหตุ” คือ ไบโอฟิล์ม กลุ่มของแบคทีเรีย หลากหลายสายพันธุ์ ที่อยู่รวมกันบนผิวฟันและบริเวณอื่นๆทั่วทั้งปาก หากเราไม่สามารถทำความสะอาดฟันได้ดีอย่างสม่ำเสมอทุกวันโดยเฉพาะ บริเวณที่เข้าถึงยาก ด้วยการแปรงฟัน ก็จะเกิดการสะสมกันอย่างเหนียวแน่น ของไบโอฟิล์มซึ่งเป็น ต้นเหตุสำคัญ ของปัญหาช่องปากต่างๆ เช่น หินปูน ฟันผุ กลิ่นปาก และโรคเหงือก —————————– LISTERINE ลิสเตอรีนจัดการปัญหาสุขภาพช่องปากที่ต้นเหตุ – น้ำยาบ้วนปากที่ทันตแพทย์มีความเชื่อมั่นด้านประสิทธิภาพมากที่สุด (จากผลการวิจัยทางการตลาดโดยบริษัท MillwardBrown ในกลุ่มทันตแพทย์ 100 คน ที่ใช้น้ำยาบ้วนปากเมื่อเดือนเมษายน 2553) – แทรกซึม ลดการสะสมของแบคทีเรียที่อยู่ในชั้นไบโอฟิล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จากบทความวิจัยตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Periodontology ค.ศ. 2000 ปีที่ 27 ฉบับที่ 4 หน้า 256-261) ด้วยอนุภาคโมเลกุลขนาดเล็กของน้ำมันสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 4 ชนิด…